การปฏิรูปที่ดิน: บทเรียนจากการต่อสู้ของเกษตรกรรายย่อยในเอเชีย (Land Reform: Lessons Learned from the Struggles of Small Scale Farmers in Asia)

TUSA-LVC-AOP-intl-public-forum-on-land-reform
ภาพ: สายันห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์

Asia is one of the emerging regions in world economy. Most countries in Asiaare rapidly developing its economic activities to catch up with theiradvanced neighbors such as Japan, South Korea and Taiwan. The region is actively involved in bilateral and multilateral free trade agreements and negotiations and economic blocs, importantly ASEAN Economic Community (AEC) to be started in 2015. In this situation, agriculture is not only given a lower priority to industry and financial sector, but the resources that sustain small scale farmers are increasingly grabbed away to feed them, including land.

Land problems already exists in Asia perpetually even before the rush toward economic growth in recent years. They are ones of the most severe challenges for small scale farmers both in the advanced countries and poor countries.Land problems are in various forms such as landlessness, land grabbing, land insecurity, and denial or violation of customary laws on land management and ownership.

To counter the challenges, small scale farmers in Asia have been organized and struggling for land reform for decades at community and national levels. Many of them join La Via Campesina (LVC) which is the international movement of peasants, to bring their issues to regional and global attention.

La Via Campesina (LVC) becomes a good source of knowledge accumulated from numerous first-hand experiences of its members on land reform. Besides, LVC is the global advocate for food sovereignty of which land is the foundation. With its 20 years in actions, LVC has lots of lesson learned to share with small scale farmers worldwide.

In February 2014, LVC of Southeast and East Asia will come to Bangkok for the Regional Meeting. Assembly of the Poor (AOP), which is the LVC member in Thailand, will be a host for over 40 small scale farmers from 14 countries in Asia and Pacific. To make maximum use of their experiences in land reform, AOP would like to organize an international forum for small scale farmers and other social sector in Thailand to learn from them and to share theperspective and experiences from Thailand. The international forum will also strengthen the cooperation among small scale farmers in Asia.

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University
La Via Campesina
สมัชชาคนจน | Assembly of the Poor

ขอเชิญร่วมการประชุมระดมความคิดเห็นระดับนานาชาติ
International Public Forum

การปฏิรูปที่ดิน:
บทเรียนจากการต่อสู้ของเกษตรกรรายย่อยในเอเชีย

Land Reform: Lessons Learned from the Struggles
of Small Scale Farmers in Asia

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 8.30-14.00 น.
ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์
ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

26 February 2014 || 8.30-14.00 hrs.
Prakob Hutasingha Meeting Room
3rd floor, Anek Prasong I building
Thammasat University, Tha Prachan


เอเชียเป็นภูมิภาคหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียกำลังพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ที่เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ยังต้องเผชิญกับข้อตกลงและการเจรจาการค้าเสรีต่างๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่สำคัญคือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ที่จะเริ่มต้นในปี พ.ศ.2558 ในสถานการณ์เช่นนี้ ภาคเกษตรกรรมได้รับความสำคัญน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน รวมทั้งเกษตรกรรายย่อยต้องสูญเสียทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตภาคเกษตรกรรมรวมทั้งที่ดิน

ปัญหาที่ดินเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียมาเป็นเวลานานแล้ว แม้กระทั่งก่อนที่จะมีการเร่งรัดพัฒนาทางเศรษฐกิจเมื่อไม่นานมานี้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การไร้ที่ดินทำกิน การกว้านซื้อที่ดินทำกินจากนายทุน ความไม่มั่นคงในที่ดิน และการไม่ยอมรับหรือความรุนแรงที่เกิดจากกฎหมายการจัดการที่ดินและการถือครองกรรมสิทธิ์

เพื่อต้องรับมือกับความท้าทายและปัญหาที่ดินดังที่กล่าวไปแล้ว ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคเอเซียจึงได้ร่วมกันเพื่อจัดตั้งองค์กรและร่วมมือกันต่อสู้ในเรื่องการปฏิรูปที่ดินทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ La Via Campesina (LVC) เป็นองค์กรหนึ่งที่เกษตรกรรายย่อยมารวมตัวกัน เพื่อการเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติของชาวไร่ชาวนาและเพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาต้องเผชิญสู่ประชาคมระดับภูมิภาคและโลก

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการในประเด็นทางสังคมต่างๆ ซึ่งประเด็นที่สำคัญหนึ่งคือวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนเหล่านั้น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่นและโลกที่กระทบต่อวิถีการดำรงชีวิตและทำมาหากินของคนชนบท การปรับตัว ต่อสู้/ต่อรองของเกษตรกรต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งคณะฯ ยังมีบทบาทในการสร้างความร่วมมือและการบริการวิชาการในระดับนานาชาติ คณะฯ จึงประสานความร่วมมือกับองค์กร La Via Campesina (LVC) และสมัชชาคนจน เพื่อจัดการประชุมระดมความคิดเห็นระดับนานาชาติ เรื่อง การปฏิรูปที่ดิน: บทเรียนจากการต่อสู้ของเกษตรกรรายย่อยในเอเชีย เพื่อเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรรายย่อยจาก 14 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก รวมทั้งจากภาคส่วนอื่นๆ ได้มาแลกเปลี่ยน เรียนรู้มุมมองและประสบการณ์ของเกษตรกรรายย่อยทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้


กำหนดการ

08.30 – 09.00 น.
ลงทะเบียน | registration

09.00 – 09.15 น.
คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยากล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม
welcome speech: Anusorn Unno,
Dean, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University

09.15 – 09.45 น.
keynote address
Land Reform for Food Sovereignty and Social Justice
Mr.Henry Saragihor || Mrs.Yoon Geum Soon
Member of International Coordination Committee of La Via Campesina from East and Southeast Asia Region

09.45-10.00 น.
พักรับประทานของว่างและชา/กาแฟ | coffee break

10.00-12.00 น.
panel discussion
Lesson learned from Small Scale Farmers’ Struggles for Land Reform
ผู้ร่วมเสวนา | dicussants

    1. ตัวแทนจากประเทศไทย | Representative from Thailand
    2. ตัวแทนจากเอเชียตะวันออก | Representative from East Asia
    3. ตัวแทนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | Representative from Southeast Asia
    4. ตัวแทนจากเอเชียตะวันออกกลางหรือแปซิฟิก | Representative from Middle East Asia or the Pacific

ผู้ดำเนินรายการ ตัวแทนจากสมัชชาคนจน ประเทศไทย
Moderator: representative from Assembly of the Poor, Thailand

12.00-13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน | lunch

13.00-14.00 น.
อภิปราย ซักถามและร่วมกันระดมความคิดเห็น | roundtable discussion