ชีวิตทางสังคมของเกษตรอินทรีย์และการเมืองเรื่องอาหารในประเทศไทย

ccscs-vandergeest-22-01-2014
ภาพ: กษิดิ์เดช มาลีหอม

This paper that traces how multiple approaches to practicing alternative agriculture in Thailand when it emerged during the 1980s coalesced around organic over time. Different social groups are able to connect with ‘organic’ for different reasons, ranging from increasing self-sufficiency, health, and environmental qualities for farmers, to middle class consumers for whom organic is primarily a food safety label providing protection against the action of unruly farmers. The different motivations have lead to distinct kinds of organic, and it may the openness of organic that may be its main strength in allowing for different pathways for the future of alternative agriculture in Thailand and elsewhere in Asia.

Peter Vandergeest is Associate Professor of Geography at York University in Toronto. He has been working in Thailand since 1979-82, when he taught engineering at Prince of Songkhla University in Hat Yai, Thailand. Since the mid-1980s he has conducted research on agrarian change in Thailand and Southeast Asia. This research has included a collaborative research program on the making of Southeast Asia’s forests through colonial and state forestry; research on industrial shrimp farming and sustainability certification; and a history of alternative agriculture in Thailand.

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอเชิญร่วมงานบรรยายวิชาการ

ชีวิตทางสังคมของเกษตรอินทรีย์และการเมืองเรื่องอาหารในประเทศไทย

The social Lives of Organic
and the Politics of Food in Thailand

วันพุธที่ 22 มกราคม 2557 เวลา 13.30-16.30 น.
ณ ห้องบรรยายโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
[map]


กำหนดการ

13.00-13.30 น. ลงทะเบียน

13.30-13.40 น.
กล่าวเปิดงานโดย คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย

13.40-16.00 น.
การบรรยายเรื่อง
The Social Lives of Organic and the Politics of Food in Thailand
โดย Peter Vandergeest
Department of Geography,
Faculty of Arts; Professional Studies,
York University, Canada.

ดำเนินรายการโดย
อาจารย์ ดร.อัจฉรา รักยุติธรรม
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

16.00-16.30 น. อภิปราย/ซักถาม


“เกษตรกรรมทางเลือก” หรือ “เกษตรกรรมยั่งยืน” เริ่มได้รับการส่งเสริมในประเทศไทยมาตั้งแต่เมื่อ 3-4 ทศวรรษก่อน ในฐานะที่เป็นระบบการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาจากการทำเกษตรแบบกระแสหลักที่เน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมีการเกษตร ทั้งนี้ เกษตรกรรมทางเลือกหรือเกษตรกรรมยั่งยืนประกอบด้วยหลายรูปแบบ อาทิ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ ไร่หมุนเวียน อย่างไรก็ดี ในช่วง 10-15 ปีมานี้ เกษตรอินทรีย์ ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมทางเลือกหรือเกษตรกรรมยั่งยืน กลับเป็นรู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทยจนแทบกลืนคำว่า “เกษตรกรรมทางเลือก” หรือ “เกษตรกรรมยั่งยืน” และรูปแบบอื่นๆ ของเกษตรกรรมไปจนหมดสิ้น

การเติบโตขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยได้เกิดขึ้นผ่านทางการสนับสนุนทั้งโดยองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานราชการ โครงการพระราชดำริ องค์กรอิสระ และสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง กระทั่งสถานะของการเป็น “ทางเลือก” ของเกษตรอินทรีย์ได้หายไปและกลายมาเป็นรูปแบบการเกษตรกระแสหลัก ในสายตาขององค์กร/หน่วยงานเหล่านี้ เกษตรอินทรีย์คือระบบการเกษตรกรรมที่พึงปรารถนา เป็นระบบการเกษตรที่จะมาช่วยแก้วิกฤตของประเทศด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพที่เกิดจากการใช้สารเคมีการเกษตร อีกทั้งยังจะช่วยทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่ดีผ่านระบบการค้าที่เป็นธรรม ซึ่งมักมาควบคู่การส่งเสริมการผลิตแบบอินทรีย์

อย่างไรก็ดี การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ไม่สามารถละเลยนัยยะและบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่เกี่ยวข้องได้ ที่ผ่านมาการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ถูกตั้งคำถามไม่น้อยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรมชุมชนนิยมและวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งสวนทางความเป็นจริงที่ว่าการขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ล้วนเป็นผลมาจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ที่ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง รวมทั้งยังต้องเผชิญกับข้อวิจารณ์ที่ว่าแท้จริงแล้วเกษตรอินทรีย์ก็คือการเกษตรแบบพันธะสัญญารูปแบบหนึ่งที่เรียกร้องต้นทุนค่าแรงอย่างสูงเพราะต้องใช้แรงงานและควบคุมแรงงานเข้มข้น เพื่อให้การผลิตเป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ที่สำคัญการเติบโตของเกษตรอินทรีย์ในสังคมไทยยังเป็นผลมาจากความต้องการสินค้าสะอาดและปลอดภัยของชนชั้นกลาง ซึ่งไม่ได้หมายเฉพาะถึงแต่ความสะอาดและปลอดภัยของกระบวนการผลผลิตสินค้าเกษตรเท่านั้น แต่หมายรวมถึงว่าเกษตรกร/ชาวนาผู้ผลิตต้องเป็นผู้มีความสะอาดในเชิงศีลธรรมตามความหมายที่คนชั้นกลางอยากให้พวกเขาเป็นด้วย เช่น เป็นคนดี มีชีวิตที่ไม่ฟุ้งเฟ้อ เน้นความพอเพียง ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ดังจะเห็นได้ในกรณีสินค้ายี่ห้อ “ข้าวคุณธรรม” นอกจากนั้นยังน่าสนใจว่าท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศปัจจุบัน กลุ่ม/องค์กร/หน่วยงานส่วนใหญ่ที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน มักมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนขั้วการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย มีพันธกิจในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนทั้งในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตระหนักถึงนัยยะสำคัญของเกษตรอินทรีย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองปัจจุบัน จึงเห็นสมควรจัดให้ให้มีเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “ชีวิตทางสังคมของเกษตรอินทรีย์และการเมืองเรื่องอาหารในประเทศไทย” โดยรองศาสตราจารย์ Peter Vandergeest ผู้ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในหัวข้อเกษตรอินทรีย์ทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล