เส้นทางของนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง
ปทุมธานี 12121

ฝ่ายบริการวิชาการ
โทร. 0-2696-5814
ฝ่ายการนักศึกษา
โทร. 0-2696 -5806

โทรสาร: 0-2696-5812

นักศึกษาระดับปริญญาตรี

โครงการบัณฑิตศึกษา

เส้นทางของนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ศิษย์เก่า

สังคมวิทยา คือ ศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในฐานะสมาชิกของสังคม เนื้อหาของสังคมวิทยาจึงกินความกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่ร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก การปะทะสังสรรค์ในชีวิตประจำวันไปจนถึงกระบวนการทางสังคมในระดับโลก

สังคมวิทยามุ่งสร้างความเข้าใจกระบวนการดังกล่าวอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายทั้งในระดับทฤษฎีและการวิจัยเชิงประจักษ์

มานุษยวิทยา ปรารถนาจะทำความเข้าใจมนุษย์ ทั้งในแง่ที่มนุษย์เป็นผลผลิตของระบบวัฒนธรรมที่เขามีชีวิตอยู่และในแง่ที่มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ ควบคุมและเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตรอบๆ ตัว

เนื้อหาของมานุษยวิทยา มีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งทางด้านกายภาพ วิถีชีวิต พฤติกรรม ความคิด ความเข้าใจ การให้ความหมายตลอดไปจนถึงอารมณ์ความรู้สึก มีวิธีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันก็เจาะลึกเฉพาะเรื่อง เฉพาะกลุ่มทั้งในระดับปัจเจกและชุมชน

เส้นทางบัณฑิตสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

บัณฑิตสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา รวมถึงบัณฑิตด้านการวิจัยทางสังคม สามารถทำงานในด้านต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน งานที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชานี้โดยตรง ได้แก่ งานวิชาการ งานวิจัย งานด้านประมวลผลข้อมูลสถิติ งานด้านการวางแผน วิเคราะห์นโยบาย งานด้านผังเมือง งานด้านการพัฒนา ผู้บริหารงานวัฒนธรรมหรือปฏิบัติงานในองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น

ส่วนงานอื่นๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภายใต้หลักปรัชญาการศึกษาของคณะฯ คือ “เข้าใจ (มนุษย์และสังคมในหลายมิติ) , เคารพ (ความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม) , เปลี่ยนแปลง (สังคมให้มีความเสมอภาค) ” ทำให้บัณฑิตสามารถเข้าทำงานในด้านต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง อาทิ งานบริหารองค์กร งานฝึกอบรม งานด้านการตลาด งานด้านสื่อสารมวลชน การท่องเที่ยว งานโฆษณา งานด้านการแสดง ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ งานสร้างสรรค์กิจกรรมทางวัฒนธรรมหรือการจัดแสดงนิทรรศการ และนักเขียนสารคดี โดยเฉพาะในมิติที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในด้านต่างๆ

หน่วยงานราชการ

เช่น ตำแหน่งต่อไปนี้

  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
  • นักฑัณฑวิทยา
  • นักพัฒนาชุมชน
  • เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  • นักประชาสัมพันธ์

หน่วยงานเอกชน

เช่น ตำแหน่งต่อไปนี้

  • นักวิจัยการตลาด
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
  • เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
  • ผู้สื่อข่าว
  • คอลัมนิสต์
  • เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์

องค์การมหาชน

เช่น ตำแหน่งต่อไปนี้

  • นักวิจัย
  • เจ้าหน้าที่โครงการ
  • นักวิชาการ
  • เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์
  • ภัณฑารักษ์

องค์กรพัฒนาเอกชน

เช่น ตำแหน่งต่อไปนี้

  • เจ้าหน้าที่วิจัยภาคสนาม
  • เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
  • นักวิจัย
  • เจ้าหน้าที่ด้านสังคมสงเคราะห์