public talk | 22 January 2018 | why we post: the anthropology of social media

Faculty of Sociology 
and Anthropology,
Thammasat Univesity

WHY WE POST:
the anthropology of social media

Professor Daniel Miller | Department of Anthropology, UCL

Monday, 22 January 2018 | 14.00-16.00

1st floor meeting room, Faculty of Liberal Arts,
Thammasat University, Tha Prachan
 
ห้องเอนกประสงค์ริมน้ำ ชั้น 1 คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 

admission

  • free admission
  • no registration required
  • for details on Digital Anthropology workshop, please follow this link

FB event

poster: Saraj Sindhuprama
vector graphics: Freepik

video

  • บันทึกวิดีโอจากการบรรยายสาธารณะ
    “Why We Post: The anthropology of social media”

This talk reports on research by nine anthropologists who simultaneously carried out a collaborative 15 months ethnography on the use and consequences of social media in fieldsites ranging from the Syria-Turkey border, an IT complex in south India, a factory and a rural town in China, a squatters settlement in Brazil, a mining town Chile, an English village and small towns in south Italy and Trinidad.

The talk looks at whether social media is the same across the world, or different in each site. It provides a new definition of social media as 'scalable sociality'. It examines the general impact of a shift to visual communication including new genres such as memes and selfies. It also addresses other consequences of social media including enhanced conservatism, and both enhanced and reduced individualism, inequality and privacy. It will alsol briefly discuss our theoretical structures that underlie this project such as the 'theory of attainment', and 'polymedia'.

Finally a mention will be made of how social media can help in the dissemination of our research results along with Open Access volumes and multilingual popular media such as YouTube, a MOOC (Massive Open Online Course), and a website, and the potential these represents for research dissemination in the future.

การบรรยายครั้งนี้อภิปรายประเด็นจากชุดโครงการที่เป็นการทำงานวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาร่วมกันของนักมานุษยวิทยาเก้าคน ภายใต้กรอบการศึกษาว่าด้วยการใช้และผลสืบเนื่องทางสังคมวัฒนธรรมของสื่อเครือข่ายทางสังคม โดยใช้เวลาทำงานวิจัยภาคสนามกว่า 15 เดือนและครอบคลุมพื้นที่การวิจัยที่หลากหลาย ตั้งแต่ชายแดนซีเรีย-ตุรกี หมู่บ้านในเขตที่ตั้งสวนเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมทางตอนใต้ของอินเดีย ชนบททางเหนือและเขตโรงงานอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อดีตชุมชนประมงที่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล อันเป็นที่อยู่อาศัยของแรงงานรายได้ต่ำและคนท้องถิ่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากรยากจนของประเทศ เมืองท่าที่เชื่อมต่อกับแหล่งเหมืองทองแดงในชิลี ย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลางชาวอังกฤษไม่ไกลจากมหานครลอนดอน เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของอิตาลี และเมืองในหนึ่งในพื้นที่ด้อยพัฒนาที่สุดของตรินิแดด

ชุดโครงการวิจัยดังกล่าวเริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่าสื่อเครือข่ายทางสังคมนั้นเหมือนหรือแตกต่างกันในสังคมต่างๆ และได้พัฒนากรอบมโนทัศน์ใหม่ในการนิยามปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อเครือข่ายทางสังคมว่าเป็น "ความเป็นสังคมที่ปรับสัดส่วนได้" (scalable sociality) ซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์ร่วมสมัยซึ่งยากจะจำแนกได้ชัดเจนระหว่าง ความเป็นส่วนตัว กับ ความเป็นสาธารณะ โดยในการบรรยายจะได้ยกตัวอย่างจากการวิเคราะห์ถึงบทบาทของการสื่อสารด้วยภาพ (ที่เข้ามาแทนการสื่อสารผ่านถ้อยคำหรือตัวอักษร) เช่นการใช้มีมหรือการถ่ายภาพเซลฟี และจะได้เปิดประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับผลสืบเนื่องในมิติทางสังคมวัฒนธรรมของสื่อเครือข่ายทางสังคม เช่น การส่งเสริมแนวคิดอนุรักษ์นิยม การเสริมสร้างและจำกัดความเป็นปัจเจกชนนิยม ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความเป็นส่วนตัว ฯลฯ โดยเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดพื้นฐานของชุดโครงการวิจัย เช่น พหุลักษณ์ของสื่อ (polymedia) และ สื่อใหม่กับการเชื่อมโยงศักยภาพในการสื่อสารของมนุษย์ (theory of attainment) เป็นต้น

ในตอนท้ายของการบรรยาย จะได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อเครือข่ายทางสังคมในการเผยแพร่องค์ความรู้จากชุดโครงการวิจัยนี้ ตั้งแต่การตีพิมพ์ผลการศึกษาในรูปแบบที่ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้โดยเสรี (open access) และการบูรณาการสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของชุดโครงการวิจัย วิดีโอบน YouTube ตลอดจนรายวิชาในระบบการศึกษาแบบเปิด (MOOC) ทั้งในภาษาอังกฤษและอีกหลากหลายภาษา โดยจะได้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของการใช้ช่องทางเหล่านี้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากโครงการวิจัยอื่นๆ ต่อไปในอนาคตด้วย


Daniel Miller is Professor of Anthropology at University College London and a Fellow of the British Academy. He has written and edited more than thirty books. Recent volumes in the field of Digital Anthropology include How the World Changed Social Media (with 8 others, 2016), Social Media in an English Village (2016), Digital Anthropology (ed. with Heather Horst, 2012), Migration and New Media (with Mirca Madianou, 2012). He has led the Why We Post project with funding from the European Research Council (ERC) and his current ERC-funded project is The Anthropology of Smartphones and Smart Ageing (ASSA).

แดเนียล มิลเลอร์ ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา ประจำภาควิชามานุษยวิทยา ยูนิเวอร์ซิตี้คอลเลจ ลอนดอน (UCL) และได้รับคัดเลือกเป็น เมธีวิจัยสาขามานุษยวิทยา British Academy ใน ค.ศ. 2008  ศาสตราจารย์มิลเลอร์เป็นผู้เขียนและบรรณาธิการหนังสือกว่าสามสิบเล่ม ในจำนวนนี้เป็นงานศึกษาด้านมานุษยวิทยาดิจิทัลเช่น How the World Changed Social Media (with 8 others, 2016), Social Media in an English Village (2016), Digital Anthropology (ed. with Heather Horst, 2012), Migration and New Media (with Mirca Madianou, 2012) เป็นต้น ชุดโครงการวิจัย Why We Post ที่กล่าวถึงในการบรรยายครั้งนี้ เป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสภาวิจัยแห่งยุโรป (ค.ศ.2012-2017) ปัจจุบัน ศาสตราจารย์มิลเลอร์ได้รับทุนสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งยุโรปให้ดำเนินชุดโครงการวิจัยใหม่ ได้แก่ The Anthropology of Smartphones and Smart Ageing (ASSA) (ค.ศ.2017-2022)