ชุดการบรรยายสาธารณะ “สังคมศาสตร์ + ดิจิทัล”

ติดตามการถ่ายทอดสด (live) ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ใบปิด: สรัช สินธุประมา

โดยความร่วมมือกับ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ใน ค.ศ. 2012 เมื่อมีการตีพิมพ์หนังสือรวมบทความภายใต้ชื่อ มานุษยวิทยาดิจิทัล ​(Digital Anthropology) เป็นครั้งแรก บทนำของหนังสือดังกล่าว (Miller & Horst, 2012) ได้ทำหน้าที่เป็นเหมือนการประกาศจุดยืนในการศึกษาทางมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ของผู้คนในโลกดิจิทัลอย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานของการศึกษาเชิงเปรียบเทียบและการศึกษาในบริบทข้ามวัฒนธรรม ในแง่นี้ การตระหนักถึงบทบาทของดิจิทัลในโลกทางสังคมและวัฒนธรรม ย่อมจะช่วยให้นักมานุษยวิทยาและนักสังคมศาสตร์โดยรวม สามารถทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เชื่อมโยงกับสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรอบด้านมากขึ้น ในขณะที่สื่อสารมวลชนอาจเน้นนำเสนอแง่มุมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะประเด็นอย่าง “digital disruption” และบทบาทของสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลภายใต้สถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาวะในปริมณฑลของการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นและแนววิธีศึกษาทางสังคมศาสตร์ในการทำความเข้าใจโลกดิจิทัล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งไม่เพียงเฉพาะสำหรับนักวิจัยที่มีความสนใจเฉพาะเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล หากแต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักสังคมศาสตร์ที่เปิดกว้างต่อการทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะในมิติของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ดิจิทัลกับสังคมพหุวัฒนธรรม ดิจิทัลกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม-การเมือง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจถึงนัยสัมพันธ์ของดิจิทัลต่อความเป็นมนุษย์ และในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับนักวิจัยที่ตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อเครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้มีส่วนร่วมดำเนินโครงการและกิจกรรมบริการวิชาการเพื่อร่วมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสื่อและวัฒนธรรมดิจิทัลมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัยวัฒนธรรมดิจิทัลและการใช้ข้อมูลดิจิทัลในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ จึงเป็นโอกาสอันดีที่ได้ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดชุดโครงการบรรยายสาธารณะ “สังคมศาสตร์ + ดิจิทัล” รวม 6 ครั้ง ตลอดเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ตามกำหนดการดังนี้


8 กันยายน 2564 | 13.30-15.30

แรกรู้จักมานุษยวิทยาดิจิทัล 1: ภาพรวม

ดร. คัคณางค์ ยาวะประภาษ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย
ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

15 กันยายน 2564 | 13.30-15.30

แรกรู้จักมานุษยวิทยาดิจิทัล 2: แนววิธี วิธีวิทยา ตัวอย่างงานวิจัย

ดร. คัคณางค์ ยาวะประภาษ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย
ดร.อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

21 กันยายน 2564 | 13.30-16.30

Big Data: ภูมิทัศน์ใหม่ในการศึกษาสังคมศาสตร์ในประเทศไทย

ผศ. อัครนัย ขวัญอยู่
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย
ดร.บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

23 กันยายน 2564 | 13.30-16.30

ช่วยอย่างไร ใช้ทำไม: เมื่อเราคิดจะใช้เครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ

คุณชนัญญา ประสาทไทย
นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

ดำเนินรายการโดย
ผศ. กุลธิดา ศรีวิเชียร
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

27 กันยายน 2564 | 13.30-16.30

เทคโนโลยีดิจิทัลกับอัตลักษณ์คนรุ่นใหม่

อาจารย์ฐิตินันทน์ ผิวนิล
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดำเนินรายการโดย
ดร. ฐานิดา บุญวรรโณ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

29 กันยายน 2564 | 13.30-16.30

การวิจัยทางสังคมในโลกดิจิทัล: กรณีศึกษากลุ่ม LGBTQ บนแพลตฟอร์มดิจิทัล

ดร. จตุรวิทย์ ทองเมือง
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดำเนินรายการโดย
ดร. ฐานิดา บุญวรรโณ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


อ้างอิง
Miller, D. & Horst, H. A. 2012. The digital and the human: A prospectus for digital anthropology. In D. Miller & H. A. Horst (Eds.), Digital anthropology (pp. 3-35). London: Bloomsbury.

CCSCS research

โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย

international network

ความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ

workshops

สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

media

สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย