Publicness, Ritual and Outdoor Cinema in Thailand

ภาพถ่ายโดย วัชรพล สายสงเคราะห์

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอเชิญร่วมเสวนาวิชาการ

Publicness, Ritual and Outdoor Cinema in Thailand
(ความเป็นสาธารณะ พิธีกรรม และหนังกลางแปลงในประเทศไทย)

Richard L. MacDonald
Department of Media and Communications,
Goldsmiths, University of London

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2559 เวลา 13.30 - 16.30 น.
ห้องประชุมโครงการปริญญาเอกคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

This paper presents research on the ritual economy of outdoor film projection in Thailand. It draws on observations in the field and interviews with projectionists conducted over a two-year period in multiple locations in the north east of the country and the suburban periphery of the capital, Bangkok. Here, outside the commercial mode of cinema distribution and exhibition, the ubiquitous multiplex cinema, exists a network of thriving itinerant projection businesses showing films at sacred and communal sites, the grounds of Buddhist temples and local spirit shrines. Embedded in diverse ritual practices these film shows are frequently contracted by individuals offering screen entertainment as a gift to shrine spirits in return for their beneficial intervention.

The presentation reflects on the process by which the material technologies, infrastructures and presentational repertoires of seemingly profane projected screen entertainment acquire sacred ritual aura. Specifically, it considers the ambivalently public address of this ritually inflected outdoor cinema dispositif. These screenings possess a character of publicness through their choice of site and preference for large screens temporarily erected on scaffolding, overwhelmingly immersive sonic volume and high-resolution image quality, yet their primary address is to supernatural beings and for the agents who initiate and facilitate these events human spectatorship is incidental.

In spite of this certain shrines with regular screenings attract a marginalised public of street vendors, motorcycle taxi drivers, weary day labourers and migrants, eager for screen entertainment yet long since abandoned by market provision as upmarket shopping malls became the exclusive public venue of cinema.

รูปแบบและวิถีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นประเด็นศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ไม่ว่าจะในฐานะชุดของสัญลักษณ์ ภาพตัวแทนวัฒนธรรม อุตสาหกรรมวัฒนธรรม หรือส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้กระทำทางสังคม ฯลฯ ขณะเดียวกัน แนววิธีศึกษาที่มีพื้นฐานมาจากความสนใจเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับสื่อในฐานะส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชานิยม อย่างสำนักวัฒนธรรมศึกษา (cultural studies) ก็มีบทบาทสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงคุณูปการของการเชื่อมโยงวิธีวิทยาเชิงชาติพันธุ์วรรณาในการศึกษาทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเงื่อนไขและบริบทเชิงโครงสร้างและวัตถุสภาวะของสื่อ กับประสบการณ์ของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่สื่อเคลื่อนที่และสื่อดิจิทัลได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คนที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การนำเสนอครั้งนี้จะอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงพิธีกรรมของการฉายหนังกลางแปลงในประเทศไทย จากงานวิจัยที่ผ่านการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ภาคสนามและการสัมภาษณ์คนฉายหนังในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ผู้วิจัยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการฉายหนังแก้บน อันเป็นเครือข่ายธุรกิจการฉายหนังเร่ที่แพร่หลายอยู่นอกระบบการจัดจำหน่ายและฉายหนังเชิงธุรกิจอย่างระบบโรงหนังมัลติเพล็กซ์ที่พบได้ทั่วไป โดยสามารถพบเห็นได้ตามพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และพื้นที่ส่วนรวมในชุมชนต่างๆ ได้แก่ วัดในพุทธศาสนาหรือศาลบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น การจัดฉายภาพยนตร์ในลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีปฏิบัติเชิงพิธีกรรมอันหลากหลาย เพราะจัดขึ้นตามการว่าจ้างของบุคคลที่ต้องการมอบความบันเทิงบนจอภาพยนตร์เป็นเครื่องตอบแทนสำหรับความช่วยเหลือที่พวกเขาได้รับจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพื้นที่เหล่านั้น

เนื้อหาของการนำเสนอจะพิจารณากระบวนการที่รูปธรรมของเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และรูปแบบการนำเสนอของสิ่งที่ดูเสมือนเป็นเพียงสื่อเพื่อความบันเทิงในโลกสามานย์ ได้หลอมรวมพลังเชิงพิธีกรรม (ritual aura) ผ่านบริบทเฉพาะของการฉายหนังกลางแปลงในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยเน้นพิจารณาประเด็นว่าด้วยความย้อนแย้งของสภาพความเป็นสาธารณะบนพื้นฐานของกลไกเชิงวาทกรรมและวัตถุสภาวะ (dispositif) ของกระบวนการฉายภาพยนตร์กลางแปลงที่ถูกฉาบด้วยวัตถุประสงค์เชิงพิธีกรรม แม้ว่าการฉายหนังแก้บนจะมีสภาพความเป็นสาธารณะอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกำหนดพื้นที่ฉาย การเลือกฉายบนจอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการติดตั้งบนโครงสร้างนั่งร้านชั่วคราว การฉายภาพยนตร์ด้วยเครื่องฉายที่ให้ภาพความละเอียดสูงพร้อมเปิดเสียงดังกระหึ่มรอบทิศ แต่หากพิจารณาวัตถุประสงค์พื้นฐานของการจัดฉายภาพยนตร์ลักษณะนี้ซึ่งเป็นไปเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ก็อาจกล่าวได้ว่าการมีผู้คนมาร่วมดูหนังแก้บนเป็นเพียงองค์ประกอบที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของผู้ว่าจ้างและทีมงานจัดฉาย

อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยพบว่าในกรณีของวัดหรือศาลบูชาบางแห่งซึ่งมีการจัดฉายหนังแก้บนค่อนข้างสม่ำเสมอ ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนชายขอบของสังคม เช่น คนขายของข้างถนน คนขับรถจักยานยนต์รับจ้าง ผู้ใช้แรงงานหรือแรงงานข้ามชาติที่เหนื่อยล้าจากงานรับจ้างรายวัน พวกเขาเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่นับวันยิ่งถูกตัดขาดจากกิจกรรมการดูหนังในบริบทของโรงภาพยนตร์ อันเป็นผลมาจากแนวทางการตลาดที่เน้นดำเนินธุรกิจโรงฉายภาพยนตร์ตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นบริบทของการฉายภาพยนตร์ที่จำกัดความเป็นพื้นที่สาธารณะเฉพาะสำหรับคนบางกลุ่มเท่านั้น


บางส่วนของประเด็นและข้อมูลภาคสนามที่นำเสนอในการบรรยายครั้งนี้ ได้รับการพัฒนาและตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบบทความวิชาการ:
MacDonald, Richard L. 2017. "Projecting Films to Spirits: On Shrines as Conjunctural Space and the Ritual Economy of Outdoor Cinema in Bangkok." Visual Anthropology Review 33(2): 152–163.