เมืองกับเรื่องน้ำท่วม: การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี

นักวิจัยรพีพรรณ เจริญวงศ์นักวิจัย ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ปรึกษาโครงการวิจัยอาจารย์ ดร.ประเสริฐ แรงกล้ากรรมการศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยโครงการวิจัยนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ) น้ำท่วมไม่ใช่ปัญหาใหม่ของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและกรุงเทพมหานคร แต่ด้วยการเติบโตของเมืองในที่ต่างๆ การพัฒนาอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่รกร้างเดิม ความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และการทรุดตัวของพื้นดิน เป็นต้น ทำให้เรื่องน้ำท่วมกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเป็นภัยของเมืองมากกว่าจะเป็นเรื่องของฤดูกาลครั้งคราว กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านแบ่งพื้นที่เป็นสองฝั่ง พื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยเป็นที่ราบความลาดชันต่ำมาก การไหลของน้ำตามธรรมชาติในช่องทางน้ำจึงช้า หากมีน้ำท่าปริมาณมากจากแม่น้ำสาขาทางตอนเหนือสะสมและไหลบ่าลงมาหรือมีน้ำฝนตกในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ปริมาณน้ำล้นตลิ่งหรือน้ำหลากทุ่งประจำปีก็จะมากจนกลายเป็นอุทกภัยได้ แต่ถ้าปริมาณน้ำท่าและน้ำฝนกำลังดีน้ำล้นตลิ่งในบริเวณนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องปกติดีต่อการทำนาจากน้ำที่มีบทบาทสนับสนุนการเติบโตของสังคม หล่อเลี้ยงผู้คนและเมือง เป็นทางสัญจร เป็นทางระบายน้ำ และที่กำจัดของเสีย น้ำที่ควบคุมไม่ได้ก็เป็นภัยเช่นกัน เช่น น้ำเสีย พาหะนำโรค และน้ำปริมาณมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนเฉพาะเหตุการณ์หรือน้ำฝนสะสมเป็นน้ำท่า สำหรับพื้นที่รับน้ำหลาก เช่น ทุ่งสองฝั่งของลุ่มน้ำการมีน้ำท่วมขังสูงราว 1-2 สัปดาห์ อาจเป็นเรื่องปกติและน้ำจะค่อยๆ ลดลงเมื่อน้ำหลากต่อไปยังพื้นที่ต่อเนื่องหรือช่องทางน้ำสายใกล้เคียงเพื่อออกสู่ทะเล เหตุการณ์เช่นนี้ชาวนาในที่ราบตอนกลางเรียนรู้และปรับตัวได้มาช้านาน แต่ปัจจุบันพื้นที่ริมน้ำและพื้นที่รับน้ำหลากต่อเนื่องจากทุ่งเหล่านี้เปลี่ยนสภาพเป็นชุมชนพาณิชย์ พื้นที่ราชการ เขตอุตสาหกรรม และพื้นที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้ออกแบบให้อยู่กับน้ำได้ ทางเลือกในการป้องกันรักษาพื้นที่จากน้ำที่กลายเป็น “ภัย” เมื่อเข้าท่วมขังในพื้นที่อาคารบ้านเรือน สถานประกอบการ ถนนหนทางต่างๆ คือการพยายามบังคับน้ำให้อยู่ในแม่น้ำลำคลอง ที่กักเก็บ ที่ชลอน้ำ ด้วยความรู้และวิธีการทางวิศวกรรมและการชลประทาน จึงเกิดมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อประโยชน์ในการช่วยป้องกันอุทกภัย […]

นัยทางสังคมและการเมืองของมหาอุทกภัย 2554

ชุดโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2556