about

About Project

Transnational Intimacy and Migration Process

    The research cluster on Transnational Intimacy and Migration Process is a collaboration between Thai and international researchers working in the field of gender and migration. Inspired by the participation in the panel “Transnational Intimate Relation, Migration and Rural Transformation” at the 13th Thai Studies Conference at Chiangmai University in July 2017, founding members of the cluster have developed cross-university and cross-disciplinary research collaboration with the support from the Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University. The cluster aims to advance knowledge of gendered mobilities from and to Thailand.

    Over the past two decades, one of the most studied cases of Thai migration is that of marriage migration of Thai women to economically more advanced countries. Studies on transnational marriages between Thai women and Western men have tended to adopt labour migration approach to analyze this migration flow. Poverty, economic motivations, opportunities to migrate and economic inequalities between Thailand and destination countries are often described as push factors that drive Thai women to marry Western men. The questions of gender and sexuality have only recently been raised to complicate the economistic approach to the studies of marriage migration. Examining migration processes through the gender lens opens up new areas of inquiries in transnational mobilities: emotional and physical intimacy, multiplicity and contestations of masculinities and femininities, and the transnational outsourcing of care and intimate labour, for example.

    The second limitation in studies of Thai women’s marriage migration is that Thai wives are often represented as a homogenous group—poor, lowly educated women from rural backgrounds who seek to advance their social and economic status. Experiences, motivations, and adaptation of Thai marriage migrants from different backgrounds—educated, middle-class and professional—are therefore invisible. Taking into account the diversity of Thai women who in participate in marriage migration will reveal the complexity and dynamics of this gendered migration flow.

    Third, studies on transnational marriage migration should go beyond individuals’ relationship and explore the extended migration processes such as the formation of Thai communities overseas, second generation Thais in receiving countries, Thai migrants’ networks and community making in massage shops, restaurants, temples and public spaces where Thai migrants gather and the transmission of (selective) Thai cultural values and identities within the Thai diaspora. Future studies should also include new developments in Thailand in connection to Thai marriage migration such as changing patterns of land ownership in wife sending communities, return migration of Thai wives, communities of Westerners in Thai urban settings and tourist destinations, health and elder care facilities for ageing migrants and return migrants from economically more developed countries.

    To start, the research cluster set out to systematically explore the existing body of work on Thai transnational marriage migration. Theoretical frameworks, methodology and findings of existing studies will be documented. The team will map out and analyze the development of research on this migration flow, identifying knowledge gap and potential directions for future research.

เครือข่ายวิจัย ความสัมพันธ์ใกล้ชิดในบริบทข้ามพรมแดนและกระบวนการย้ายถิ่น

การไหลบ่าของทุนนิยม โลกาภิวัฒน์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระดับโลกและระดับท้องถิ่น กระแส transnationalism รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ มีโอกาสเคลื่อนย้าย เดินทาง หรือนำไปสู่การย้ายถิ่น ทั้งในรูปแบบของการไปทำงาน การไปศึกษาต่อต่างประเทศ การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม หรือการย้ายถิ่นกลับ รวมทั้งผู้คนเหล่านี้ยังธำรงความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามผ่านพรมแดนรัฐ-ชาติ

เมื่อพิจารณางานศึกษาที่ผ่านๆ มาในประเด็นการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของผู้หญิงไทยกับชายชาวต่างชาติ การเคลื่อนย้าย/ย้ายถิ่นกลับอันเนื่องมาจากการสร้างความสัมพันธ์/การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย้ายถิ่นในรูปแบบต่างๆ พบว่ายังมีข้อจำกัดหลายประการ กล่าวคือ

ประการแรก งานศึกษาหลายๆ งานมักจะอธิบายถึงสาเหตุ/แรงจูงใจที่ทำให้ผู้หญิงแต่งงานข้ามวัฒนธรรม โดยมีแนวโน้มที่จะประยุกต์แนวคิดทฤษฏีทางเศรษฐกิจที่ศึกษาการย้ายถิ่นแบบ labor migration ไปใช้อธิบายว่า ความยากจน  โอกาสในการย้ายถิ่น  แรงจูงใจทางการเงิน และความแตกต่างทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ผู้หญิงเหล่านี้แต่งงานกับสามีชาวต่างชาติ   ในขณะที่แนวคิดและมุมมองเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีที่เกี่ยวโยงกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมเพิ่งได้รับความสนใจนำมาใช้วิพากษ์ทฤษฏีทางเศรษฐกิจ  และนำมาวิเคราะห์ปรากฏการณ์การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม รวมทั้งยังช่วยเน้นให้เห็นมิติด้าน intimate relationship ของคู่รักข้ามวัฒนธรรมมากขึ้น นอกจากนี้มิติ Gender ยังช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ที่ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจศึกษามากนัก เช่น แนวคิดความเป็นชาย (Masculinities) ในชุมชนท้องถิ่นที่ถูกท้าท้าย ต่อรอง และ/หรือถูกนิยามใหม่ อันเนื่องมาจากการที่ผู้หญิงในชุมชนแต่งงานข้ามวัฒนธรรมกับชายชาวต่างชาติ    ประเด็นอาชีพที่สัมพันธ์กับ labor of love/labor of care เช่น อาชีพการให้การดูแล/การให้การบริการที่หญิงย้ายถิ่นมักถูกคาดหวังให้มารับทำงานเหล่านี้ และยังมักถูกเหมารวม/เชื่อมโยงกับการทำงานที่สัมพันธ์กับมิติการให้บริการทางเพศ (แบบแอบแฝง)

ประการที่สอง งานศึกษาวิจัยในประเด็นดังกล่าวมักมองผู้หญิงในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน (homogeneity) มักจะนำเสนอภาพการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของผู้หญิงไทยที่มีฐานะยากจน ระดับการศึกษาน้อย และมีภูมิหลังมาจากชนบท  ส่งผลให้ประสบการณ์ชีวิตและการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของผู้หญิงที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน (เช่น ผู้หญิงที่มีการศึกษา มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง) มักจะไม่ค่อยถูกนำเสนอและพูดถึง  ทั้ง ๆ ที่ ตำแหน่งทางสังคม (social positions) ที่แตกต่างกันของผู้หญิงอาจหล่อหลอมแรงจูงใจ การปรับตัว และมุมมองของพวกเธอต่อการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมแตกต่างกันไป

ประการที่สาม งานศึกษาเรื่องการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมในสังคมไทยร่วมสมัยไม่ควรมุ่งเน้นแต่เฉพาะชีวิตของคู่สมรสและความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวของทั้งสองฝ่าย หากแต่ควรขยายความสนใจไปสู่ประเด็นอื่นๆ ที่มีความเชื่อมโยงต่อปรากฏการณ์นี้ เช่น เรื่อง Migration Process และ/หรือ Mobility  ไม่ว่าจะเป็นมิติของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ต่างๆ ที่เอื้อ/จำกัดต่อการเกิดขึ้นของชุมชนคนไทยในประเทศปลายทาง เช่น ร้านนวด ร้านอาหารไทย วัดไทย สวนสาธารณะที่คนไทยมารวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ในประเทศปลายทาง ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้สัมพันธ์กับมิติทางวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อทางศาสนา อัตลักษณ์ “ความเป็นไทย” รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางสังคมในชุมชนคนไทย/ผู้หญิงไทยในต่างแดน  นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานในชุมชนบ้านเกิด/หรือตามเมืองใหญ่ๆ ในประเทศไทย เช่น หัวหิน พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ ก็ยังมีผลต่อการกำหนดการใช้ชีวิตของผู้หญิงไทยกับคู่สมรสข้ามวัฒนธรรมหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวชายกับผู้หญิงไทย  รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขากับบุตรที่เป็นรุ่นที่สอง (second generation) ในกรณีของการเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน หรือการย้ายถิ่น/การเคลื่อนย้ายหลังเกษียณของพวกเขา เช่น โรงพยาบาล บ้านจัดสรร/คอนโด ร้านอาหาร/ร้านขายของที่นำเข้าสินค้าจากประเทศตะวันตก เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคสินค้าของสามีชาวตะวันตก รวมทั้งประเด็นเรื่องการให้การดูแลผู้สูงอายุ (aging care) ในกรณีของคู่สมรสข้ามวัฒนธรรมที่อยู่ในวัยเกษียณและมาใช้ชีวิตในประเทศไทย เป็นต้น

ประการสุดท้าย งานศึกษาในช่วงที่ผ่านมายังไม่ค่อยเน้นทำความเข้าใจในทางทฤษฏีและงานวิจัยที่ทันต่อสถานการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่นและกระบวนการย้ายถิ่นของแรงงานที่ยังมีพลวัตตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานในภาคเกษตรในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการย้ายถิ่นยังคงสัมพันธ์กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองในระดับประเทศและภูมิภาค เช่น การที่บริษัทข้ามชาติสัญชาติไทยไปลงทุนทำเกษตรแปลงขนาดใหญ่ในประเทศพม่า ลาวและกัมพูชา หรือดำเนินการโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับใหญ่ เช่นการสร้างเขื่อน หรือการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ผลด้านสังคมที่ตามมาคือทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานทักษะสูง และแรงงานไร้ฝีมือ และครอบครัวของแรงงานเหล่านี้เพื่อไปทำงานในประเทศปลายทาง เป็นต้น

ข้อจำกัดที่นำเสนอไปเบื้องต้นสะท้อนให้เห็นว่าแม้ประเด็นเรื่องการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของผู้หญิงไทยกับชายชาวต่างชาติจะได้รับความสนใจศึกษามากขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาก็ตาม แต่ก็ยังไม่ค่อยมีการสำรวจองค์ความรู้อย่างเป็นระบบว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกศึกษาไว้ในประเด็นใดบ้าง ด้วยระเบียบวิธีวิจัยใด และผลการศึกษา/ข้อค้นพบเป็นอย่างไร และประเด็นใดยังไม่ค่อยได้รับการศึกษา รวมทั้งไม่ควรจำกัดการศึกษาอยู่แต่ในประเด็นการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม หากแต่ควรขยายความสนใจไปสู่ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสูญเสีย/การถือครองที่ดินของผู้คนในชุมชนอันเนื่องมาจากการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมหรือกระบวนการย้ายถิ่น ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพบปะของคู่รัก การเคลื่อนย้าย/การย้ายถิ่นกลับและการดำรงชีวิตของผู้คนเหล่านี้ รวมทั้งประเด็นเรื่องบุตรรุ่นที่สองหรือผู้สูงอายุอันเป็นผลมาจากการแต่งงานข้ามวัฒนธรรม รวมถึงการขยายความสนใจไปสู่ประเด็นเรื่องกระบวนการย้ายถิ่นหรือการเคลื่อนย้ายแรงงานในภาคเกษตรในระดับประเทศหรือภูมิภาค ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวของแรงงานเหล่านั้น เป็นต้น

นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิจัย (cluster) “ความสัมพันธ์ใกล้ชิดในบริบทข้ามพรมแดนและกระบวนการย้ายถิ่น” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมุ่งสำรวจ ทบทวนและพัฒนาองค์ความรู้ว่าด้วยประเด็นการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของคนไทยกับชาวต่างชาติ ชุมชนคนไทยในต่างประเทศ และขยายไปสู่ประเด็นศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ จัดทำเวปไซต์เพื่อเป็นแหล่งในการสืบค้นข้อมูลของกลุ่มนักวิจัยและผลงานวิชาการ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการพัฒนากลุ่มวิจัย (cluster) เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการสร้างผลงานวิจัยต่อไป