CEDA | 2021-2022

แผนงานคนไทย 4.0
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

โครงการจัดตั้งกลุ่มวิจัย
สื่อและวัฒนธรรมดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

การมีส่วนร่วมของพลเมืองในยุคดิจิทัล:
การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนไทย พ.ศ. 2563

civic engagement in the digital age:
youth political movements in Thailand, 2020

โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมของพลเมืองในยุคดิจิทัล: การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนไทยใน พ.ศ. 2563” เริ่มต้นจากคำถามร่วมกับผู้คนในสังคมอีกจำนวนมากกว่า เหตุใดนักเรียนนักศึกษาจึงมีความตื่นตัวออกมาร่วมแสดงออกทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา แม้ในภาพรวม การเคลื่อนไหวทางการเมืองตลอด พ.ศ. 2563 จะยึดโยงผู้เข้าร่วมชุมนุมจากหลากหลายช่วงวัย แต่มักได้รับความสนใจในฐานะที่เป็น “ม็อบ” ของคนรุ่นใหม่ที่ครอบคลุมตั้งแต่นักเรียนมัธยม นักศึกษามหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาและเริ่มก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานเป็นครั้งแรก ผู้วิจัยสนใจการแสดงออกทางการเมืองที่มีแนวโน้มเป็นการเคลื่อนไหวตามประเด็นความสนใจ (cause-oriented) มากขึ้น ว่าเป็นผลสืบเนื่องและมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง (civic culture) อย่างไร โดยพยายามตอบคำถามวิจัย 3 ข้อ ดังนี้

  • การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนไทยในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงทัศนคติเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไร
  • การใช้สื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพลเมืองและการแสดงออกทางการเมืองของเยาวชนอย่างไร
  • วัฒนธรรมสมัยนิยมมีบทบาทต่อการก่อตัวของเครือข่ายทางสังคมที่พัฒนาไปสู่สำนึกความเป็นพลเมืองและส่งเสริมทักษะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนอย่างไร

การดำเนินโครงการวิจัยมุ่งตอบวัตถุประสงค์ 5 ข้อ ดังนี้

  • เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติของเยาวชนเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ใน บริบทของการเคลื่อนไหวทางการเมือง พ.ศ. 2563
  • เพื่อทำความเข้าใจแบบแผนการใช้สื่อดิจิทัลของเยาวชน ซึ่งมีนัยสัมพันธ์กับสำนึกความเป็นพลเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง
  • เพื่อทำความเข้าใจนัยสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสมัยนิยมกับสำนึกความเป็นพลเมืองและการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของเยาวชน
  • เพื่อทำความเข้าใจกลไกที่เชื่อมโยงระหว่างการใช้สื่อดิจิทัล วัฒนธรรมสมัยนิยม และสำนึกความเป็น พลเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน
  • เพื่อนำข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ในการออกแบบนโยบายที่จะช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคมของเยาวชน รวมถึงการขจัดอุปสรรคที่ลดทอนการมีส่วนร่วมของเยาวชน


โครงการวิจัย “การมีส่วนร่วมของพลเมืองในยุคดิจิทัล: การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเยาวชนไทย พ.ศ. 2563” ดำเนินการโดย ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)