เรื่องที่พิพิธภัณฑ์(อาจ)ไม่ได้เล่า?

วัน-เวลา

  • ศุกร์ 26 พฤษภาคม 2560
  • 14.00-17.00 น.

สถานที่

  • ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช
    สถาบันไทยคดีศึกษา
    ชั้น 9 อาคารเอนกประสงค์ 1
    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

เสวนาวิชาการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์สากล | เรื่องที่พิพิธภัณฑ์(อาจ)ไม่ได้เล่า?


สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (International Council of Museum หรือ ICOM) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 โดยผู้มีวิชาชีพและมีความเชี่ยวชาญทางด้านพิพิธภัณฑ์ โดยมีพันธกิจหลักเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับพิพิธภัณฑ์ และพัฒนาสังคมผ่านงานด้านพิพิธภัณฑ์ การดำเนินงานของ ICOM ในฐานะองค์กรที่ประสานชุมชนพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติ ดำเนินไปในหลายมิติ ได้แก่ การสร้างมาตรฐานด้านการดีไซน์ การบริหาร และการจัดการคอลเลคชั่น การส่งเสริมการวิจัย การสร้างมาตรฐานด้านจริยธรรม การผลักดันข้อกำหนดสำคัญด้านมรดกวัฒนธรรม การเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนประเด็นแหลมคมด้านวัฒนธรรม เป็นต้น

นับจากก่อตั้งจนปัจจุบัน ICOM กลายเป็นสถาบันสำคัญในการสร้างเครือข่าย/ชุมชนพิพิธภัณฑ์นานาชาติ มีสมาชิกกว่า 35,000 แห่ง จากนานาประเทศ เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ ร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติอื่นๆ เป็นส่วนสำคัญในการถกเถียง โต้แย้ง และสั่งสมความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม

นับจากปี 1977 ICOM ได้กำหนดให้วันที่ 18 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์สากล เพื่อสร้างความตระหนักให้สังคมเห็นว่าพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การสร้างความเข้าใจร่วมกัน การสร้างความร่วมมือและก่อให้เกิดสันติภาพระหว่างประชาชน โดยในแต่ละปี ICOM จะกำหนดประเด็นและพิพิธภัณฑ์ต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักรู้แก่สังคม ด้วยการจัดกิจกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว ตัวอย่างหัวข้อในวันพิพิธภัณฑ์สากลที่จัดขึ้น ได้แก่  Museums (memory + creativity) = social change  จัดในปี 2013 Museum collections make connections ปี 2014 Museums for a sustainable society ปี 2015 Museums and Cultural Landscapes  ปี 2016

สำหรับวันพิพิธภัณฑ์สากลในปี 2017 ICOM ได้กำหนดหัวข้อ “Museums and contested histories: Saying the unspeakable in museums” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ให้สังคมได้เห็นบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในการส่งเสริมสันติภาพ ผ่านการพูด การทำความเข้าใจ การยอมรับประวัติศาสตร์ที่อาจจะเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่ไม่ค่อยมีคนรู้ เรื่องที่ไม่ได้รับความเข้าใจหรือเป็นความเข้าใจผิดๆ เรื่องที่เป็นบาดแผลของสังคม เรื่องที่สังคมมีความเห็นไม่ลงรอยกัน การพูดถึงเรื่องที่พูดไม่ได้ในมิวเซียม และพูดจากหลายๆ มุมมองนี้ จะเป็นหมุดหมายสำคัญของความสมานฉันท์และการสร้างอนาคตร่วมกัน

ในโอกาสนี้ ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย และ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ จึงเห็นควรร่วมมือกันเปิดเวทีสนทนากับชุมชนพิพิธภัณฑ์ในระดับชาติและนานาชาติ ในรูปแบบโครงการเสวนาวิชาการเพื่อเปิดประเด็นอภิปรายในหัวข้อ “เรื่องที่พิพิธภัณฑ์(อาจ)ไม่ได้เล่า” โดยวิทยากรจากสถาบันวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์และมรดกวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ ความตระหนักรู้ทางประวัติศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานของการเชื่อมโยงระหว่างมิติต่างๆ เพื่อการทำความเข้าใจสังคมร่วมสมัย โดยเฉพาะในบริบทของความทรงจำร่วมในสังคมไทยปัจจุบัน


กำหนดการ

  • 13.30-13.50 | ลงทะเบียน 
  • 13.50-14.00 | กล่าวต้อนรับ
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร
      รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
      คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 14.00-16.30 | เสวนาวิชาการ “เรื่องที่พิพิธภัณฑ์(อาจ)ไม่ได้เล่า?”
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ
      สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปะกรรมศาสตร์
      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    • อาจารย์ ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ
      ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี
      
มหาวิทยาลัยศิลปากร
    • คุณทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร
      นักจัดการความรู้อาวุโส
      สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)
    • คุณภัทรพร ภู่ทอง
      นักวิจัย โครงการบันทึก 6 ตุลา

      ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
    • อาจารย์​ ดร.ภาสกร อินทุมาร
      คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 16.30-17.00 | อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
CCSCS research
โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
international network
ความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ
workshops
สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
media
สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย