วัน-เวลา
- พฤหัสบดี 28 กันยายน 2560
- 13.30-17.30 น.
สถานที่
- ห้องประชุมริมน้ำ ชั้น 1 คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ภาพพื้นหลังใบปิด:
อิทธิพล สีหะวงษ์
นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
open access
video
- บันทึกวิดีโอจากการเสวนา ชวนถก “หนึ่งทศวรรษจังหวัดชายแดนใต้ศึกษา”
สัมมนาวิชาการประจำปี ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย พ.ศ. 2560
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยในปี 2555 เพื่อดำเนินการศึกษาวิจัย เผยแพร่ และสนับสนุนกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมในลักษณะต่างๆ ทั้งแก่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา รวมทั้งบุคคลและหน่วยงานภายนอก ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ได้ดำเนินโครงการวิจัยและกิจกรรมบริการวิชาการซึ่งครอบคลุมประเด็นถกเถียงเชิงวิชาการจากหลากหลายแนววิธีศึกษาและความสนใจของสาธารณชนเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยในการสัมมนาประจำปี พ.ศ.2557 ได้มีการนำเสนอผลงานเบื้องต้นจากโครงการทบทวนงานศึกษาวิจัย “หนึ่งทศวรรษมานุษยวิทยาและสังคมวิทยากับการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งได้นำมาสู่โครงการจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ความรู้จากการสังเคราะห์งานวิจัยทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยาว่าด้วยจังหวัดชายแดนภาคใต้ นับเป็นหนังสือเล่มแรกที่รวบรวมบททบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งในมิติการจัดการทรัพยากร ชาติพันธุ์และพหุวัฒนธรรม การเมือง และการจัดการความรุนแรง และจะได้เผยแพร่รูปเล่มเป็นครั้งแรกในการสัมมนาประจำปีของศูนย์ฯ ใน พ.ศ.2560 นี้
ต่อมาใน พ.ศ.2558 การสัมมนาประจำปีของศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้นำเสนอประเด็นอภิปรายว่าด้วย “สามัญดิจิทัล: พหุลักษณ์ของเทคโนโลยีสื่อและข้อมูลในสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย” ซึ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาสื่อและวัฒนธรรมดิจิทัลในลักษณะข้ามสาขาวิชา (transdisciplinary) และนับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการจัดตั้งกลุ่มวิจัยด้านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต่อมาได้รับทุนพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติจาก Newton Mobility Grant Scheme (2016) โดยส่วนหนึ่งของโครงการได้ส่งเสริมให้คณาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้พัฒนาประเด็นวิจัยด้านสื่อและวัฒนธรรมดิจิทัล และร่วมนำเสนอผลงานในการสัมมนาของกลุ่มวิจัย ณ Goldsmiths College มหาวิทยาลัยลอนดอน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และเวทีนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติ International Convention of Asian Scholars (ICAS10) ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2560
เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี การก่อตั้งศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย นับเป็นห้วงเวลาอันเหมาะสมที่ศูนย์ฯ จะได้นำเสนอผลงานจากสองโครงการหลักในระยะที่ผ่านมา เพื่อเชิญชวนให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนในประเด็นที่สะท้อนถึงความสนใจทางวิชาการที่เปิดกว้างและหลากหลาย อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งและการพัฒนาบทบาททางวิชาการของศูนย์ฯ จนถึงปัจจุบัน
กำหนดการ
- 13.30-13.45 | กล่าวต้อนรับและเปิดงาน
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
- 13.45-15.45 | ชวนถก “หนึ่งทศวรรษจังหวัดชายแดนใต้ศึกษา”
- อาจารย์ ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - อาจารย์ซากีย์ พิทักษ์คุมพล
สถาบันสันติศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - อาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - ร่วมอภิปราย-แลกเปลี่ยนโดย
- Dr Muhammad Arafat Bin Mohamad
Department of Southeast Asian Studies,
National University of Singapore (NUS)
- Dr Muhammad Arafat Bin Mohamad
- อาจารย์ ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์
- 16.00-17.30 | ชวนคิด “ชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัล”
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - อาจารย์พรรณราย โอสถาภิรัตน์
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - อาจารย์อาจินต์ ทองอยู่คง
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ร่วมอภิปราย-แลกเปลี่ยนโดย
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - อาจารย์วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
สำนักพิมพ์ openworlds
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร
CCSCS research
โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
international network
ความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติworkshops
สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาmedia
สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย