CCSCS workshop: cultural intimacy

lecture

Professor Michael Herzfeld
Department of Anthropology, 
Harvard University

discussion

  • Pinkaew Laungaramsri
    Department of Sociology and Anthropology,
    Faculty of Social Sciences,
    Chiang Mai University
  • Stéphane Rennesson
    Research Institute on Contemporary Southeast Asia (IRASEC)
  • Edoardo Siani
    PhD student,
    Department of Anthropology and Sociology,
    SOAS, University of London

admission

suggested readings

FB event

ใบปิด: สรัช สินธุประมา

สัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยมโนทัศน์ cultural intimacy


แวดวงวิชาการสังคมศาสตร์ไทยอาจคุ้นเคยกับชื่อของศาสตราจารย์ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ (Michael Herzfeld) ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากงานศึกษาว่าด้วยการต่อสู้ของชุมชนป้อมมหากาฬในบริบทอันย้อนแย้งของการพัฒนาพื้นที่ “อนุรักษ์” ของเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งล่าสุดได้รับการตีพิมพ์เป็นผลงานชาติพันธุ์วรรณนาภายใต้ชื่อ Siege of the Spirits: Community and Polity in Bangkok (2016) หรือบางคนอาจได้รับแรงบันดาลใจในการวิเคราะห์สังคมไทยร่วมสมัยจากกรอบคิดว่าด้วย “อาณานิคมอำพราง” (Crypto-Colonialism; Herzfeld 2012) แต่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับมโนทัศน์ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของงานชาติพันธุ์วรรณาและข้อเสนอเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมไทยทั้งสองชิ้นข้างต้น ได้แก่ มโนทัศน์ “cultural intimacy” ซึ่งศาสตราจารย์เฮิร์ซเฟลด์ได้พัฒนาและนำเสนอผ่านผลงานตีพิมพ์ชิ้นสำคัญ คือ Cultural Intimacy: Social Poetics in Nation-States (1997)

ตลอดระยะเวลาสองทศวรรษนับจากการตีพิมพ์ครั้งแรก cultural intimacy ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมโนทัศน์เชิงวิเคราะห์ที่สำคัญในแวดวงมานุษยวิทยา ที่มีบทบาทในการทำความเข้าใจความซับซ้อนยอกย้อนของการปฏิบัติทางวัฒนธรรม การก่อตัวของอัตลักษณ์ทางสังคม โวหารชาตินิยมและการดำรงอยู่ของรัฐชาติ การฉวยใช้ประโยชน์ของความเป็นชายขอบ ตลอดจนพลังเชิงสร้างสรรค์ของการปฏิบัติทางสังคม (social poetics) ที่เชื่อมโยงความเป็นปัจเจกกับความเป็นกลุ่มก้อนทางสังคม (collectivity)

อย่างไรก็ดี แม้ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะถอดความ “cultural intimacy” เป็นภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม เพราะ cultural intimacy ในฐานะกรอบการวิเคราะห์มีความหมายแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการถอดความโดยตรง มโนทัศน์ cultural intimacy สื่อถึงนัยที่ซับซ้อนมากกว่า “ความใกล้ชิดทางวัฒนธรรม” เพราะชี้ให้เห็นถึงแง่มุมต่างๆ ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่ง “คนใน” ของแต่ละวัฒนธรรมอาจรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอายสำหรับคนภายนอก แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกถึงความเป็นกลุ่มเดียวกันและการมีอัตลักษณ์ทางสังคมร่วมกัน

ปริมณฑลของ cultural intimacy จึงเป็นชุดของการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ในแง่หนึ่ง สถาบันทางสังคมและโครงสร้างทางอำนาจต่างๆ ของรัฐ พยายามใช้โวหารต่างๆ เข้ามาควบคุม จัดระเบียบ หรือแม้แต่จัดการให้หมดไป เพื่อให้คงเหลือแต่วิถีปฏิบัติที่สอดคล้องกับ “อัตลักษณ์แห่งชาติ” และ “อดีต” ที่เป็นหนึ่งเดียวกับความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural nostalgia) ของความเป็นชาติที่รัฐประสงค์จะนำเสนอต่อโลกภายนอก 

ขณะที่ในอีกแง่หนึ่ง ปริมณฑลของ cultural intimacy เป็นชุดของการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการอันย้อนแย้งและไม่เป็นหนึ่งเดียวของการบรรจบกันระหว่างโลกาภิวัตน์กับความเป็นท้องถิ่น โวหารของรัฐกับการดื้อแพ่งของผู้คน ความปรารถนาของปัจเจกกับเงื่อนไขของอัตลักษณ์กลุ่ม กระบวนการชาตินิยมกับการยอมรับในระดับโลก และ อดีตที่โหยหากับอดีตที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเชิงสถาบันในโลกปัจจุบัน cultural intimacy จึงเป็นมโนทัศน์ที่ตอกย้ำให้เห็นปัญหาของการพิจาณาปรากฏการณ์ทางสังคมเพียงผิวเผิน และชวนให้นักมานุษยวิทยาหันมาให้ความสนใจกับสิ่งธรรมดาสามัญในระดับชีวิตประจำวันที่มักถูกมองข้ามเสมือนไม่มีความสลักสำคัญ หากแท้ที่จริงแล้วเป็นปริมณฑลที่เต็มไปด้วยพลังเชิงสร้างสรรค์ของการปฏิบัติทางสังคม ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ให้กับการวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงปัจเจกกับโครงสร้างทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นช่วงชั้นของระบบคุณค่าทางสังคม (global hierarchy of value)

ในวาระครบรอบสองทศวรรษของการตีพิมพ์หนังสือ Cultural Intimacy: Social Poetics in Nation-States และสองทศวรรษนับจากจุดเริ่มต้นการทำวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาในประเทศไทยของศาสตราจารย์เฮิร์ซเฟลด์ อีกทั้งเป็นเวลาเกือบสองทศวรรษนับจากที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ได้เคยจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับมโนทัศน์ cultural intimacy และผลงานอื่นๆ ของศาสตราจารย์เฮิร์ซเฟลด์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มีความยินดีที่ได้ต้อนรับศาสตราจารย์ไมเคิล เฮิร์ซเฟลด์ ในฐานะนักวิจัยรับเชิญของศูนย์ฯ (พฤศจิกายน 2559 - มกราคม 2561) และได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและต่างชาติ ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการว่าด้วยมโนทัศน์ cultural intimacy ในวันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2560 นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ถ่ายทอดความรู้ว่าด้วยมโนทัศน์สำคัญในการศึกษาทางมานุษยวิทยา อีกทั้งยังจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอภิปรายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเชื่อมโยงมโนทัศน์ดังกล่าวกับประเด็นวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยการอ้างอิงจากต้นฉบับหนังสือ Cultural Intimacy: Social Poetics in Nation-States ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งล่าสุด (2016) ซึ่งผู้เขียนได้ปรับเพิ่มการอภิปรายเชื่อมโยงกับกรณีศึกษาในสังคมไทย ย่อมจะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้กับการศึกษาทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยในประเทศไทยอีกด้วย


programme

(บรรยายและอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษ - ผู้บรรยายและร่วมอภิปรายที่เป็นชาวต่างชาติทุกท่านสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนเป็นภาษาไทยได้)

  • 09.00-09.20 | registration 
  • 09.20-09.30 | welcoming remarks
    • Anusorn Unno
      Dean, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University
  • 09.30-11.00 | lecture cultural intimacy: twenty years on
    • Professor Michael Herzfeld
      Ernest E. Monrad Professor of the Social Sciences, Department of Anthropology, Harvard University
      Director, Thai Studies Program, Asia Center, Harvard University
      Honorary Fellow, Centre for Contemporary Social and Cultural Studies (CCSCS), 
      Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University
  • 11.00-12.00 | participants reflections | cultural intimacy : key analytical issues : social poetics, structural nostalgia, global hierarchy of value
    • convenors
    • Stéphane Rennesson
      Research Institute on Contemporary Southeast Asia (IRASEC)
    • Vipas Prachyaporn
      PhD student, Department of Anthropology, Harvard University
  • 13.00-15.00 | discussion | cultural intimacy and ethnography of contemporary societies 
    • Pinkaew Laungaramsri
      Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
    • Stéphane Rennesson
      Research Institute on Contemporary Southeast Asia (IRASEC)
    • Edoardo Siani
      PhD student, Department of Anthropology and Sociology,
      SOAS, University of London
  • 15.00-16.00 | concluding remarks | Q&A
    • Professor Michael Herzfeld
CCSCS research
โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
international network
ความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติ
workshops
สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
media

สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย