วิทยากร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงชัย ทองปาน
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - อาจารย์ ดร.จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วัน-เวลา
- 22 – 24 กุมภาพันธ์ 2561
สถานที่
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ใบปิด: ดีไซน์
การอบรมเชิงปฏิบัติการ
การใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และการใช้ QGIS
ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย มีภารกิจสำคัญประการหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยเพื่อการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมแก่นักศึกษา นักวิชาการ และบุคลากรด้านการวิจัยในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยนับจากปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นมา ศูนย์ฯ ได้ริเริ่มดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้เชิงวิธีวิทยา ทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เนื่องจากตระหนักถึงความจำเป็นและความต้องการของนักศึกษา นักวิชาการ และบุคลากรด้านการวิจัย ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อพัฒนาทักษะและความชำนาญในการใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างครบถ้วน และเพียงพอสำหรับการตอบคำถามวิจัยได้อย่างรอบด้าน
ปัจจุบัน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น และทำให้เกิดการออกแบบวิธีวิจัยอย่างผสมผสานระหว่างการใช้เครื่องเมือเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับข้อมูลเชิงสังคมวัฒนธรรม อันเป็นประโยชน์ต่อขอบข่ายการศึกษาวิจัยทางสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) จะได้รับการพัฒนามาโดยตลอดและไม่ใช่เครื่องมือใหม่ในการศึกษาวิจัยแต่ที่ผ่านมาจะอยู่ในสายงานด้านวิทยาศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ธรณีวิทยา และภูมิศาสตร์ เป็นต้น ด้วยเป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง แต่การขยายพื้นที่ทางความรู้และการเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เช่น Quantum GIS หรือ QGIS เข้ามามีบทบาทกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ และเป็นกลุ่มซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Free and Open Source Software: FOSS) จึงง่ายต่อการเข้าถึงและสะดวกกับการนำไปใช้งาน
ในการนี้ ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย จึงเห็นประโยชน์ในการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และการใช้ QGIS” เพื่อเป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชนวิชาการ โดยในการจัดทำโครงการอบรมครั้งแรกนี้ ได้รับความร่วมมือจากวิทยากรรับเชิญผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงชัย ทองปาน จากภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 2) อาจารย์ ดร.จุฑาศินี ธัญปราณีตกุล จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำมาใช้เพื่อการวิจัย รวมถึงการใช้โปรแกรม QGIS ในการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่และการประยุกต์ใช้ในการทำงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยวิทยากรทั้งสองท่านจะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิจัยที่ผ่านมาด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ ออกแบบให้มีระยะเวลา 2 วันครึ่ง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งอาจะมีพื้นฐานความเข้าใจที่มากน้อยแตกต่างกันมีเวลาเพียงพอที่จะร่วมอบรมและฝึกปฏิบัติ เพื่อการนำไปใช้ได้จริง โดยกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้แก่ นักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสายสังคมศาสตร์ ที่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลาการอบรม
กำหนดการ
22 กุมภาพันธ์ 2561
-
08.45-09.00 | ลงทะเบียน
-
09.00-09.15 | เปิดการอบรมและแนะนำวิทยากร
- 09.15-11.00 | บรรยาย | ข้อมูลจากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศคืออะไร?
- 11.15-12.00 | บรรยาย | แหล่งข้อมูลจากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศอยู่ที่ไหนบ้าง?
- 13.00-16.00 | บรรยาย | จะนำข้อมูลเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาใช้ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ได้อย่างไร?: ประสบการณ์จากการทำวิจัย
- 16.00-16.30 | สรุปและถาม-ตอบ
23 กุมภาพันธ์ 2561
-
08.45-09.00 | ลงทะเบียน
- 09.00-11.00 | บรรยาย | Geo-informatics-101 ช่วงที่ 1: "อะไรคือเชิงพื้นที่"
-
11.00-12.00 | บรรยาย | Geo-informatics-101 ช่วงที่ 2: "ตัวอย่างโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านสังคมศาสตร์"
- 13.00-15.00 | ปฏิบัติ | QGIS-101
- ลงโปรแกรม และ plugins
- ดาวน์โหลด และแสดงข้อมูล
- ทำความรู้จักกับข้อมูล
- 15.15-16.30 | ปฏิบัติ | QGIS-101: การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
24 กุมภาพันธ์ 2561
-
08.45-09.00 | ลงทะเบียน
- 09.00-11.00 | ปฏิบัติ | วิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางสังคมศาสตร์ (กรณีศึกษา)
-
11.15-12.00 | ปฏิบัติ | สรุปและนำเสนอผลการวิเคราะห์
CCSCS research
โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยinternational network
ความร่วมมือทางวิชาการระดับนานาชาติworkshops
สัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาmedia
สื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย