สถิติประยุกต์: ปฐมบทแห่งการวิจัยทางสังคม

teera 2558 cover spread


ปกตำรา_last edit_06-02-58

ความนำ


หากพูดถึงชีวิตของคนเรา นอกจากการ “ผูกติด” อยู่กับคนที่รัก ความรู้สึกที่เป็น ความฝันที่หวังให้เป็นจริง อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เรายังผูกติดอยู่กับ “ตัวเลข” ในชีวิตประจำวันของเราทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

“Mathematical knowledge appeared to be certain, exact, and applicable to the real world; moreover it was obtained by mere thinking, without the need for observation. Consequently, it was thought to supply an ideal, from which every-day empirical knowledge fell short. It was supposed, on the basis of mathematics, that thought is superior to sense, intuition to observation. If the world of sense does not fit the world of mathematics, so much the worse for the world of sense.”

(Bertrand Russell, A History of Western Philosophy, 1945)

ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “คน” กับ “ตัวเลข” เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปอย่างง่าย ๆ เช่น ทุกวันหวยออก เลขทะเบียนรถ เบอร์โทรศัพท์ รหัสผ่านเข้าระบบต่าง ๆ เป้าหมายในรอบวัน/สัปดาห์/เดือนของผู้หญิงผ่านเครื่องชั่ง เงินเดือน/โบนัส และอื่น ๆ อีกมากมายที่สุดกล่าวถึงได้หมดในแต่ละช่วงชีวิตของแต่ละคน

ตำราหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของนักเรียน นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ครูอาจารย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ซึ่ง (อาจ) ถูกบังคับให้เรียนให้อ่านให้ทำให้ผลิตผลงานจะในรูปแบบของการบ้าน รายงาน บทความ งานวิจัย หรืออะไรก็ตาม ซึ่งทุกนักที่กล่าวถึงย่อมต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตช่วงหนึ่งอย่างแน่นอนกับวิชา วิธีวิทยาและเครื่องมือที่เรียกว่า “สถิติ” สำหรับการทำวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพราะผู้เขียนตระหนักและทราบดีจากการเป็นผู้หนึ่งที่เผอิญหลงเข้ามาอยู่ในกระแสความเปลี่ยนแปลง การต่อสู้โต้แย้งถกเถียง ถึงความจำเป็นความสำคัญและความเชื่อถือได้ของวิธีการทางสถิติในการนำไปใช้ประโยชน์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่ที่เป็นปัญหาใหญ่ยิ่งทางสังคม สถิติจึงทั้งถูกตั้งคำถาม ท้าทาย และมองผ่านในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ ใช้ดีและควรใช้จริงหรือ? กับการตอบคำถามต่าง ๆ ในสังคม ผู้เขียนไม่รู้มาก่อนว่าเรียนสถิติพิสูจน์นั่นทดสอบนี่ เขียนสูตรสัญลักษณ์เสมือนอยู่ในโลกอีกใบที่แม้แต่คนในครอบครัวยังรู้สึกแปลกแยกและแตกต่าง จนหลายครั้งมักตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่าเรียนไปทำไม จนกระทั่งค้นพบทางออกของการใช้ความที่รู้นั้นเป็นประโยชน์และได้พยายามนำเอาสิ่งที่ค้นพบสื่อสารแก่ผู้สนใจผ่านการเปิดตำราหนังสือเล่มนี้อ่านโดยทั่วกัน แน่นอนว่าวิธีที่พบทางสว่างไม่ได้มีวิธีเดียว สถิติเป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่ท่านสามารถศึกษาได้จากตำราเล่มนี้ ซึ่งย่อมต้องมีข้อผิดพลาดทั้งจะโดยตั้งใจก็ดี จะโดยไม่ตั้งใจก็ช่าง ผู้เขียนขอน้อมรับและขออภัยอย่างหาที่สุดไม่ได้ หวังแต่เพียงจะทำให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไปใช่เพื่อใครเพื่อผู้อ่านนั้นแล

ธีระ สินเดชารักษ์
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


หนังสือที่ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำรา ประจำปี 2555 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์