การประกวดข้อเขียนทางวิชาการ: คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอเชิญส่งข้อเขียนทางวิชาการเข้าร่วมประกวด หัวข้อ
คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง
UPDATE: ดูผลการตัดสินรางวัลการประกวดข้อเขียน “คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง” ได้ ที่นี่
วิถีชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจสังคม การขยายตัวของเมือง การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการภูมิทัศน์ ทั้งจากการพัฒนาและจากผลพวงของเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ผู้คนไม่ว่าจะในสังคมเมืองหรือสังคมชนบทมีแบบแผนชีวิตที่ไม่ได้แยกจากกันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากความสัมพันธ์ระบบตลาด ทุน การบริโภค และการเคลื่อนย้ายของผู้คนอย่างไม่หยุดนิ่งทั้งในระดับท้องถิ่นและที่กว้างไกลกว่านั้น ชีวิตของ “คน” ทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยการเปิดรับ ปรับตัว เลือก และต่อรองท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตั้งแต่เศรษฐกิจในครัวเรือนไปจนถึงนโยบายระดับชาติ
ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย มีพันธกิจในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนทั้งในมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในหลายลักษณะ จึงเห็นความสำคัญที่จะสนับสนุนงานเขียนทางวิชาการในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) เพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอความคิดและมุมมองของตนผ่านประสบการณ์จากการศึกษาหรือจากการลงพื้นที่ภาคสนามที่เกี่ยวข้องในประเด็น “คน” กับการเปลี่ยนแปลง ที่จะสื่อให้เห็นถึงชีวิตของคนและความเป็นไปในสังคมปัจจุบัน
ประเด็นเนื้อหา
การประกวดข้อเขียนทางวิชาการในหัวข้อ “คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง” เปิดรับความเรียงและบทความที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับชีวิต วิถีการยังชีพ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ต่างๆ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง การรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้า การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเรียกร้องสิทธิ หรือวัฒนธรรมกลุ่มย่อยต่างๆ เป็นต้น โดยอาจมีเนื้อหาเฉพาะประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือเป็นภาพรวมต่อสภาวการณ์บางอย่าง โดยผู้เขียนสามารถตั้งชื่อข้อเขียนตามประเด็นเนื้อหาของตนเอง
ปฏิทินการประกวด
- เปิดรับผลงาน: วันที่ 1 สิงหาคม – 5 กันยายน 2556
- ประกาศผลและมอบรางวัล: วันที่ 16 กันยายน 2556 ในงานประชุมวิชาการประจำปีของศูนย์ฯ
คุณสมบัติของผู้ส่งข้อเขียนเข้าประกวด
- ประเภทความเรียงระดับปริญญาตรี
- ประเภทบทความระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก)
เป็นผู้ที่กำลังศึกษา หรือจบการศึกษา (ปีการศึกษา 2555) ระดับปริญญาตรี จากคณะ/ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทั่วประเทศ
เป็นผู้ที่กำลังศึกษา หรือจบการศึกษา (ปีการศึกษา 2555) ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก) ในคณะ/ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทั่วประเทศ
รูปแบบของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
- เป็นข้อเขียนภาษาไทย ซึ่งเขียนโดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ไม่เป็นการแปลหรือดัดแปลงจากงานเขียนของผู้อื่น และเป็นงานเขียนที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน
- ต้นฉบับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด 16 pt ระยะห่างบรรทัด 1 เท่า (single space)
- ใช้รูปแบบการอ้างอิงตามเกณฑ์ของวารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา (ดูตัวอย่างได้จากหน้า 210-213 ในลิงค์นี้)
- ความยาวของเนื้อหา
- ระดับปริญญาตรี: ความเรียงทางวิชาการความยาวไม่ต่ำกว่า 5 หน้ากระดาษ A4
- ระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก): บทความทางวิชาการความยาวไม่ต่ำกว่า 10 หน้ากระดาษ A4
- สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ไม่เกินคนละ 1 ชิ้น
การส่งผลงานเข้าร่วมประกวด
- ส่งต้นฉบับพร้อมระบุชื่อ-นามสกุล สถาบัน/คณะ/ภาควิชา เลขทะเบียนนักศึกษา พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ และ อีเมล์ สำหรับติดต่อกลับ
- ส่งผลงานด้วยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์มาที่
ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 1 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร 10200
[แผนที่] - ส่งผลงานมาที่อีเมล์ socantjournal [at] gmail.com
หรือ
การพิจารณาผลการประกวด
พิจารณาตามแนวทางที่กำหนดโดยคณะกรรมการผู้พิจารณาผลการประกวด ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เพื่อมอบรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรตามประเภทต่อไปนี้
- ประเภทความเรียงระดับปริญญาตรี
- รางวัลผลงานดีเยี่ยม (1 รางวัล): เงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลผลงานดี (1 รางวัล): เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลชมเชย (2 รางวัล): เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- ประเภทบทความระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโท-เอก)
- รางวัลผลงานดีเยี่ยม (1 รางวัล): เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลผลงานดี (1 รางวัล): เงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
- รางวัลชมเชย (2 รางวัล): เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ผลงานที่ได้รับรางวัลมีสิทธิได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ฉบับพิเศษ (มกราคม-มิถุนายน 2557)
ทั้งนี้ จำนวนรางวัลที่จะมอบในการประกวดครั้งนี้ ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการฯ และการตัดสินของคณะกรรมการฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด
เงื่อนไข
- ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน
- ผู้เขียนอนุญาตให้คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานำผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวด ไปใช้เผยแพร่ในกิจการของคณะฯ ได้
- จะไม่มีการส่งเอกสารต้นฉบับคืนให้ผู้เขียน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: รพีพรรณ เจริญวงศ์ โทร. 0 2613 2803, 08 2445 2664