โครงการจัดพิมพ์หนังสือเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

sensing socanthro teaser

บางส่วนจากภาพร่างหนังสือ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่รู้สึก โดย ลักษวงษ์ ประกิตภูพิสุทธิ์

หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี
การก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่รู้สึก

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
บรรณาธิการ

หนังสือรวบรวมความทรงจำและความรู้สึกเพื่อร่วมแสวงหาและค้นพบวันเวลาที่ล่วงเลยไปร่วมกัน เพื่อก่อสร้างสถาปัตยกรรมแห่งความทรงจำและความรู้สึกของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในรอบ 50 ปี

จัดพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับแขกรับเชิญตลอดกิจกรรมวิชาการ-สังสรรค์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2558 และมอบให้ผู้ซื้อบัตรเข้าร่วมงาน Soc-Ant Spirit: Days of Future Past กึ่งศตวรรษสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สานสัมพันธ์ อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

จัดโดย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ สมาคมสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์

ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานสังสรรค์นี้ได้ที่เฟซบุค TU-Socant50


โครงการจัดพิมพ์หนังสือวิชาการ ร่วมกับ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ


1. ศาสตร์ – อศาสตร์ เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน

จันทนี เจริญศรี || ทรงสิริ พุทธงชัย
บรรณาธิการ

ในโลกทัศน์แบบสมัยใหม่ เราแบ่งแยกโลกธรรมชาติออกจากโลกของความหมายและสังคมมนุษย์ ซึ่งต่อมานำไปสู่การแบ่งการหาความรู้เป็นศาสตร์และอศาสตร์ ศาสตร์มีสถานะมั่นคงแบบไร้คู่แข่งในการศึกษาโลกธรรมชาติ ในขณะที่การศึกษาสังคมมีความหลากหลายในจุดยืนมากกว่า บทความในหนังสือเล่มนี้ทบทวนเส้นแบ่งทั้งหลายเหล่านี้ ทั้งโลกทัศน์ของเราและวิธีที่เราควรศึกษาและทำความเข้าใจมัน ตลอดจนบทบาทของสังคมศาสตร์ที่ควรจะเป็นในยุคที่เราเริ่มมองเห็นความพร่าเลือนของเส้นแบ่งนี้

กำหนดจัดพิมพ์และเผยแพร่ มีนาคม 2558

2. ไม่ใช่เรื่อง ‘หมูหมากาไก่’

สายพิณ ศุพุทธมงคล
บรรณาธิการ

สัตว์ศึกษา ศึกษาสัตว์จากมุมมองของนักปรัชญาการเมือง นักวรรณคดีเปรียบเทียบ และนักมานุษยวิทยา

กำหนดจัดพิมพ์และเผยแพร่ มีนาคม 2558

3. รอยต่อ – รอยตัดสังคมศาสตร์ไทย

นลินี ตันธุวนิตย์ || ณัฐจรี สุวรรณภัฏ || พรทิพย์ เนติภารัตนกุล
บรรณาธิการ

“สังคมศาสตร์” ถูกนิยามอย่างเคร่งครัด คับแคบ และยึดตรึงมานาน โดยวางอยู่ในขั้วตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์ หนังสือเล่มนี้เลือกที่จะปล่อยให้นิยามของคำนี้คลุมเครือเพื่อเปิดที่ทางให้งานวิชาการหลากหลายสาขาวิชาที่นำเสนอ วิพากษ์ และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับชีวิตผู้คนและสังคม บทความ 3 บทความในเล่มวิเคราะห์ วิพากษ์งานวิชาการที่แสดงจุดเปลี่ยนของมุมมอง การวิเคราะห์ วิธีวิทยา และการเขียน ชี้ถึงการเคลื่อนตัวของงานวิชาการที่มีทั้งต่อเติมและตัดตอนแนวการศึกษา ผ่านประเด็นหลัก 3 ประเด็นคือ คนกับสุขภาพ, คนกับชีวิตประจำวัน, และ คนกับโครงสร้าง

กำหนดจัดพิมพ์และเผยแพร่ พฤษภาคม 2558

4. บทจร: บทอ่านมานุษยวิทยาไทย

ประเสริฐ แรงกล้า || รัตนา โตสกุล || ชนิดา ชิตบัณฑิตย์
บรรณาธิการ

คัดสรรงานเขียน งานวิจัยของนักมานุษยวิทยาไทย สะท้อนการเดินทางของแนวคิดและประเด็นในวิชามานุษยวิทยาในสังคมไทย ตั้งแต่ยุคบุกเบิกจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมประเด็นประเด็นทิศทางของวิชา ชาติพันธุ์ โครงสร้างสังคม สังคมชาวนา ความเชื่อและศิลปะ อำนาจกับคนชายขอบ และลักษณะข้ามชาติ

กำหนดจัดพิมพ์และเผยแพร่ พฤษภาคม 2558


ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ ที่นี่