35 | 53 หนุ่มสาวในห้วงของการเปลี่ยนผ่าน
ใบปิด: สรัช สินธุประมา
“ห้วงเหตุการณ์” (event) เป็นประเด็นที่นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจและพัฒนากรอบคิดในเชิงวิเคราะห์ นับจากมโนทัศน์เรื่อง “สถานการณ์ทางสังคม” (social situation) ของ แมกซ์ กลัคแมน (Max Gluckman) งานศึกษาของกลัคแมนได้เสนอให้พิจารณาห้วงเหตุการณ์ในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคมที่เผยให้เห็นโครงสร้างและบทบาทของสถาบันทางสังคมต่างๆ ชนชั้นและรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคม ตลอดจนความขัดแย้งที่หลอมรวมและปรากฏให้เราได้ตระหนักในห้วงเหตุการณ์หนึ่งๆ จากข้อเสนอของกลัคแมน แซลลี ฟอล์ค มัวร์ (Sally Falk Moore) ได้พัฒนาข้อเสนอว่าด้วยแนววิเคราะห์ห้วงเหตุการณ์ที่มีนัยบ่งชี้เงื่อนไขเชิงสังคม (diagnostic event) มัวร์ได้ชี้ให้เห็นคุณูปการของการทำความเข้าใจ “ประวัติศาสตร์ปัจจุบัน” (history of the present) ซึ่งมุ่งพิจารณาหลากหลาย “กระบวนการ” (processes) ที่ประกอบกันขึ้นและเป็นผลสืบเนื่องของห้วงเหตุการณ์อันจะช่วยเปิดมุมมองให้ตระหนักถึงนัยเชื่อมโยงกับเงื่อนไขต่างๆ (contingency) และสามารถทำความเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างเปิดกว้างและก้าวพ้นไปจากกรอบคิดเรื่องการผลิตซ้ำทางสังคมและวัฒนธรรม
สัมมนาวิชาการประจำปี ของศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2559 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “35 | 53 หนุ่มสาวในห้วงของการเปลี่ยนผ่าน” เพื่อเป็นการทบทวนการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยตลอดช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นให้เห็นมิติที่เชื่อมโยงและกำหนดซึ่งกันและกันระหว่างความเปลี่ยนแปลงในเชิงเศรษฐกิจ สถาบันทางสังคม มิติทางวัฒนธรรม กับปรากฏการณ์ที่มักได้รับการอ้างถึงในฐานะที่เป็นหมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนมากกว่าอย่างเหตุการณ์สำคัญๆ ทางการเมือง ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่าการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพฤษภาคม พ.ศ.2535 และช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2553 เป็น “ห้วงเหตุการณ์” ที่ยังท้าทายให้ศึกษาและพิจารณาในบริบทของการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของคนหนุ่มสาว จากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีประสบการณ์ร่วมและได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 มาจนถึงชั่วรุ่นที่เกิดในช่วงปีหลังจากนั้น เติบโตมาในสังคมไทยที่ประกอบสร้างบนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และเข้าสู่ช่วงชีวิตหนุ่มสาวในท่ามกลางผลสืบเนื่อง (consequences) ของรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน
ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559
35 | 53
หนุ่มสาวในห้วงของการเปลี่ยนผ่าน
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2558 เวลา 9.00-16.00 น.
ณ ห้องเอนกประสงค์ริมน้ำ ซั้น 1 คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กำหนดการ
09.00-09.15 น.
กล่าวเปิดงาน โดย ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
คณบดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.15 – 10.45 น. เวทีเสวนา #1
“เติบโต”: ว่าด้วยระบบคุณค่าทางสังคมและสิทธิพลเมือง
- อาจารย์วาทินีย์ วิชัยยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - วริษา สุขกำเนิด
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท - ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - อาจารย์ ทพ. ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์
ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ชวนสนทนาโดย
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
ผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ Openworlds
11.00-12.30 น.
09.15 – 10.45 น. เวทีเสวนา #2
“เที่ยวเล่น”: ว่าด้วยสื่อและวัฒนธรรมสมัยนิยม
- อาจารย์นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - อาจารย์ เมธาวี โหละสุต
ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ปฏิพัทธ์ สุสำเภา
วิศวกรคอมพิวเตอร์ผู้ก่อตั้ง Opendream - นนทวัฒน์ นำเบญจพล
ผู้สร้างภาพยนตร์อิสระ Mobile Lab
ชวนสนทนาโดย
อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา
ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
13.30-15.00 น. เวทีเสวนา #3
“เปลี่ยนแปลง”: ว่าด้วย “คนรุ่นใหม่” กับการเคลื่อนไหวทางสังคม
- ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - กรรณิกา วงสีสา
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - รังสิมันต์ โรม
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) - ผศ.ดร.นลินี ตันธุวนิตย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชวนสนทนาโดย
อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(วิทยากรผู้ชวนสนทนา อาจมีการเปลี่ยนแปลง)
15.15-16.00 น. วงสนทนาปิดท้าย
“อนาคต”: อดีตที่ปลายทางของการเปลี่ยนผ่าน?
- ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ผศ.ปกป้อง จันวิทย์
ผู้ร่วมก่อตั้ง ดิ วันโอวัน เปอร์เซนต์
ชวนสนทนาโดย
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
ผู้ร่วมก่อตั้งและบรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ประชาไท