รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับคณะ ประจำปี พ.ศ.2560
ภาพ: นราวัลลภ์ ปฐมวัฒน
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์อาจินต์ ทองอยู่คง เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับคณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2560
ผลงานทางวิชาการ ของ อาจารย์อาจินต์ ทองอยู่คง
ผลงานวิจัย
- โครงการวิจัย “การร่วมสร้างอัตลักษณ์ “คนดี” โดยมวลมหาประชาชน: กรณีศึกษาสื่อสังคมและสื่อบุคคล” ร่วมกับ อาทิตย์ สุริยวงศ์กุล. ในชุดโครงการ “การเมืองของคนดี: ความคิด ปฏิบัติการ และอัตลักษณ์ทางการเมืองของผู้สนับสนุน “ขบวนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย””, ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (*อยู่ระหว่างดำเนินการ*)
- โครงการวิจัย “วัฒนธรรมแฟนบอลไทยในมิติของการพนันและการบริโภค” (2559) ในชุดโครงการ “ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก: การพนัน ความเป็นชาย วัยรุ่น และวัฒนธรรมบริโภคนิยม” ของศูนย์บริการงานวิจัยและวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โครงการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำนิทรรศการเรื่อง “โลกฟุตบอลไทย” (2559), ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสายชล
ปัญญชิต ชาลินี สนพลาย และพงศกร สงวนศักดิ์
บทความวิจัยตีพิมพ์ (พ.ศ.2559-2560)
- อาจินต์ ทองอยู่คง. 2560. “นักฟุตบอลไทยเซเล็บ: สถานะทางสังคมแบบใหม่ของแรงงานกีฬากับความโหยหาวีรบุรุษของสังคมไทย.” มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 5(1): 88-109.
- อาจินต์ ทองอยู่คง. 2560. “เมื่อของเล่นพื้นบ้านลูกหวายกลายเป็นกีฬาสมัยใหม่ลูกพลาสติก” ใน ศึกษาสิ่งของ เข้าใจผู้คน: 30 ปีพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, บรรณาธิการโดย พจนก กาญจนจันทร, 86-104. ปทุมธานี: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- อาจินต์ ทองอยู่คง. 2559. “เขตปกครองพิเศษคลองเตย: ความเป็นย่าน ความเป็นชาย และการสร้างชุมชนใหม่ ผ่านการบริโภคฟุตบอลของแฟนการท่าเรือ เอฟซี.” สังคมศาสตร์ 28(1): 50-84.
- อาจินต์ ทองอยู่คง. 2559. “วัฒนธรรมแฟนและการบริโภคฟุตบอล” ใน ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก: ผู้หญิง อำนาจ วัฒนธรรมแฟน และชนชั้นใหม่, บรรณาธิการโดย วสันต์ ปัญญาแก้ว, 196-229. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.