พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น: จากวัตถุที่จัดหาและได้มาในยุคอาณานิคม สู่นิทรรศการที่โอบรับคนทุกวัฒนธรรม




พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น: จากวัตถุที่จัดหาและได้มาในยุคอาณานิคม สู่นิทรรศการที่โอบรับคนทุกวัฒนธรรม
The Museum of Other People: from colonial acquisitions to cosmopolitan exhibitions
Adam Kuper เขียน
วรรณพร เรียนแจ้ง แปล
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน (2567)

วัตถุที่ชาวตะวันตก “ฉกชิง” ไปในยุคอาณานิคมควรจะถูกส่งคืนให้ “เจ้าของ”

แล้วถ้า “เจ้าของ” ที่ว่านี้ไม่อยู่แล้วล่ะ?

คนกลุ่มเดียวที่พูดถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองได้อย่างชอบธรรมก็คือตัวชนพื้นเมืองเอง

จริงหรือ!?

วัตถุของ “ชาติ” ไหน ก็ควรจะได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของชาตินั้นๆ

แม้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่ได้มาตรฐาน มีปัญหาเรื่องการคอรัปชั่น หรือการโจรกรรมอย่างนั้นน่ะหรือ?

ร่วมกระโจนเข้าสู่โลกอันพิลึกพิลั่นของ “พิพิธภัณฑ์” เพชรยอดมงกุฎแห่งความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์ ซึ่งมีพัฒนาการความเป็นมาที่แยกไม่ขาดจากประวัติศาสตร์อันอำมหิตโชกเลือดของจักรวรรดินิยมตะวันตก ตลอดจน “ภัณฑารักษ์” ผู้มีบทบาทในการรังสรรค์คลังสะสมและนิทรรศการว่าด้วย “ผู้เป็นอื่น” — ผองชนซึ่งอยู่พ้นไปจาก “ยุโรปที่เป็นอารยะแล้ว” — อันจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดข้อพิพาทถกเถียงในเรื่องสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและการฉกฉวยทางวัฒนธรรม ซึ่งยังคงส่งผลสะเทือนมาจนถึงปัจจุบัน