ความพร้อมของแรงงานนอกระบบกับการเป็นสังคมสูงอายุ

ปัจจุบันสังคมไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุ (Aging Society) ซึ่งหมายถึง มีอัตราส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งมีแนวโน้มว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานในระบบ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างในโรงงาน บริษัท ฯลฯ จะมีสวัสดิการสังคมจากรัฐและนายจ้างเป็นหลักประกันยามสูงอายุ

แต่สำหรับแรงงานนอกระบบ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย เช่น พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย รับจ้าง เกษตรกร นั้น แม้พวกเขาจะทำงานอย่างอิสระ แต่ไม่มีความมั่นคงในอาชีพมากนัก อีกทั้งยังไม่มีหลักประกันยามชราเหมือนกับแรงงานในระบบ

โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “ความพร้อมของแรงงานนอกระบบกับการเป็นสังคมสูงอายุ” ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการศึกษาการเตรียมความพร้อมของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่ความเป็นผู้สูงอายุ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดสวัสดิการทางสังคมสำหรับพวกเขาโดยเฉพาะต่อไป

โครงการฯ เก็บข้อมูลจากแรงงานนอกระบบทั้ง 4 ภาคของไทย ในปี 2554 ขณะนี้ถึงขั้นตอนเสนอผลการวิจัย โดยจะจัดเสนอเวทีรับฟังความคิดเห็นในหัวข้อ

ความพร้อมของแรงงานนอกระบบกับการเป็นสังคมสูงอายุ

ตามกำหนดการต่อไปนี้

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2555
เวลา 9.00-11.00 น.
ห้อง 401 ชั้น 4 อาคารคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

กำหนดการ

9.00-9.30 น.
ลงทะเบียน

9.30-10.00 น.
นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง “ความพร้อมของแรงงานนอกระบบกับการเป็นสังคมสูงอายุ”
โดย

อาจารย์ ดร.ธีระ สินเดชารักษ์

(หัวหน้าโครงการ)

อาจารย์ พรทิพย์ เนติภารัตนกุล

(นักวิจัยร่วม)

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.00-11.00 น.
รับฟังความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม (มีอาหารว่างและเครื่องดื่มบริการ)