จิตรกรรมพุทธศาสนาสมัยพุกาม
ศาสตราจารย์ ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ
ชุดการบรรยายเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี
การสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กันยายน 2554-พฤศจิกายน 2555
ชุดการบรรยายทางวิชาการ “จิตรกรรมพระพุทธศาสนาสมัยพุกาม” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ.2554 เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.เสมอชัย พูลสุวรรณ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
อาณาจักรพุกามซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่ในลุ่มแม่น้ำอิระวดีตอนกลาง (ในประเทศพม่าปัจจุบัน) ได้เคยเป็นศูนย์กลางสาคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-13 ซึ่งถือเป็นยุครุ่งเรืองของอาณาจักร แม้ภายหลังจากนั้นพุกามก็ยังดารงความสำคัญ ในฐานะศูนย์กลางของการจาริกแสวงบุญสืบต่อเนื่องมาอีกช้านาน อิทธิพลของพุกามในด้านวัฒนธรรมและงานศิลปกรรมพระพุทธศาสนา จึงแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในภูมิภาค โดยยังหลงเหลือร่องรอยให้ศึกษาได้ในปัจจุบันเป็นอันมาก ผู้บรรยายพยายามบุกเบิกความหมายของภาพจิตรกรรมพระพุทธศาสนาสมัยพุกาม ซึ่งพบตัวอย่างจำนวนหลายร้อยแห่งในย่านโบราณสถานของเมืองพุกามปัจจุบัน ในมิติต่างๆ ซึ่งจะเชื่อมโยงนำเราไปสู่การทาความเข้าใจที่ลุ่มลึกขึ้น เกี่ยวกับวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาทั้งของพุกามเอง และของเอเชียอาคเนย์สมัยโบราณในภาพกว้างด้วย
ชุดการบรรยายทางวิชาการ “จิตรกรรมพระพุทธศาสนาสมัยพุกาม” ประกอบด้วยการบรรยายทั้งหมด 5 หัวข้อ ได้แก่
ครั้งที่ 1
“แนะนำโบราณสถานและภาพจิตรกรรมในย่านโบราณสถานของเมืองพุกาม”
วันที่ 1 กันยายน 2554
ครั้งที่ 2
“เรื่องเล่าพุทธประวัติในจิตรกรรมพุทธศาสนาสมัยพุกาม”
วันที่ 22 กันยายน 2554
ครั้งที่ 3
“เสวยวิมุตติสุขเจ็ดสัปดาห์” ในจิตรกรรมพุทธศาสนาสมัยพุกาม
วันที่ 23 กรกฎาคม 2555
ครั้งที่ 4
“สัญลักษณ์ในจิตรกรรมสมัยพุกาม”
วันที่ 24 สิงหาคม 2555
ครั้งที่ 5
“ช่องว่างความรู้…จากจิตรกรรมพุกามที่หายไป”
วันที่ 31 ตุลาคม 2555
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดการบรรยายนี้ได้จาก facebook page ของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์