ความเหลื่อมล้ำแนวราบ: ต้นกำเนิดความรุนแรง



ความเหลื่อมล้ำแนวราบ: ต้นกำเนิดความรุนแรง
ฟรานเซส สจ๊วร์ต เขียน
เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์ แปล
สายพิณ ศุพุทธมงคล บรรณาธิการแปล
หนังสือในชุด คบไฟวิจัย
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2555


เหตุใดบางประเทศที่มีประชากรหลายชาติพันธุ์จึงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ แต่ในบางประเทศกลับเกิดความขัดแย้งรุนแรง?

งานวิจัยนี้ให้น้ำหนักอย่างมากกับ ‘ความเหลื่อมล้ำแนวราบ’ (horizontal inequalities) หรือความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มคนต่างวัฒนธรรมในฐานะสาเหตุหลักของความขัดแย้ง สมมุติฐานของงานวิจัยนี้คือ เมื่อคนกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและการเมืองด้วย ก็จะก่อให้เกิดความขุ่นแค้นบาดลึกที่อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้

Centre for Research on Inequality, Human Security and Ethnicity (CRISE) พบว่า การมีความเหลื่อมล้ำแนวราบในวงกว้าง หรือความไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งรุนแรงเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุนี้ การให้ความสำคัญกับนโยบายขจัดความเหลื่อมล้ำแนวราบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความไม่เท่าเทียมของสถานภาพทางวัฒนธรรม จึงน่าจะเป็นเป้าหมายหลักของนโยบายการพัฒนาประเทศ เพื่อป้องกันความขัดแย้ง และเพื่อนำไปสู่การมีสังคมที่เป็นธรรม และที่คนทุกกลุ่มชาติพันธุ์สามารถมีชีวิตอยู่อย่างเสมอกัน