จะไปให้ไกลทำไมกัน: ข้อเขียน และ การเดินทาง ว่าด้วยความห่าง-ใกล้
จะไปให้ไกลทำไมกัน
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
พิมพ์คำ สำนักพิมพ์, 2555
ความเหมือนกันระหว่างนักมานุษยวิทยากับนักสำรวจและนักเดินทางท่องเที่ยวก็คือ เขาต่างเดินทางเพื่อที่จะมีเรื่องเล่าในภายหลัง เรื่องเล่าของนักมานุษยวิทยาก็คือ งานเขียนที่เรียกกันมาแต่เดิมว่า “ชาติพันธุ์วรรณา”(ethnography) ซึ่งตั้งใจที่จะเล่าถืงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่เขาศึกษา โดยหลีกเลี่ยงการประเมินค่า…นักมานุษยวิทยามิได้ตั้งใจเขียนเรื่องเล่าเพื่อตัวเขาเอง เขาพยายามเขียนถึง ชีวิต ความฝันและความหวังของคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม คนเราจะซื่อสัตย์ในเรื่องที่เราเล่าถึงคนอื่นหรือ?
ผมคิดว่า…บางทีนักเดินทางที่ทำตัวเป็นนักมานุษยวิทยา น่าจะมีความสุขกว่าพวกนักมานุษยวิทยาที่แฝงตัวมาในคราบของนักท่องเที่ยวก็เป็นได้