ชีวประวัติของทุ่งรังสิต: จากเนื้อสมัน นาข้าว สาวโรงงาน ถึงนักศึกษา และ เหี้ย

biography-of-rangsit


biography-of-rangsit-2

โปสเตอร์ (บน): เดชาภิวัชร์ นพมิตร

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมกับ

ฝ่ายบริการวิชาการและสังคม และ ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอเชิญชมนิทรรศการและเสวนาวิชาการ

ชีวประวัติของทุ่งรังสิต:
จากเนื้อสมัน นาข้าว สาวโรงงาน ถึงนักศึกษา และ เหี้ย


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่างและเป็นส่วนหนึ่งของ “ทุ่งรังสิต” ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

“ชีวประวัติ” ของทุ่งรังสิต สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญของสังคมไทย ทั้งในมิติของนิเวศวิทยา สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ “ทุ่งรังสิต” เคยเป็นที่อาศัยของโขลงช้างและเนื้อสมัน (Schomburgk deer) กวางที่มีเขาสวยที่สุดชนิดหนึ่งซึ่งพบได้แต่เพียงในประเทศไทยเท่านั้นซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว

คลองรังสิตที่เริ่มขุดขึ้นโดยบริษัทคลองแลคูนาสยาม นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2431 ก่อให้เกิดการบุกเบิกที่ดินขนาดใหญ่ ทำให้ท้องทุ่งรังสิตกลายมาเป็นนาข้าวเพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจการค้าข้าวหลังสนธิสัญญาบาวริงในปลายทศวรรษ 2390 ประชากรจำนวนมาก เช่น กลุ่มคนลาว คนจีน และคนมอญจากที่ต่างๆ เริ่มอพยพเข้ามาเพิ่มมากขึ้น จนขยายกลายเป็นชุมชนใหญ่ และจัดตั้งขึ้นเป็น เมืองธัญบุรี (เมืองแห่งข้าว) ผลผลิตทางการเกษตรจากทุ่งรังสิต กลายเป็นเป้าหมายของกลุ่มโจรปล้นวัว ควายและตลาด ทุ่งรังสิตเป็นพื้นที่ของการระบาดของโรคอหิวาห์ตกโรคและกาฬโรค และในที่สุด เมื่อมีการพัฒนาระบบชลประทานโดยรัฐได้เป็นผลสำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 2470 ทุ่งรังสิตก็พร้อมกับการผลิตข้าวได้อย่างเข้มข้น

ภูมิทัศน์ของ “ทุ่งรังสิต” เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสำคัญ เมื่อนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ได้เริ่มดำเนินการขึ้น ในปี พ.ศ.2515 ทุ่งรังสิตจึงมีบทบาทใหม่ ในฐานะพื้นที่ของการผลิตในระบบอุตสาหกรรม “ผู้ใช้แรงงาน” เพิ่มจำนวนมากขึ้น เป็นคนกลุ่มใหญ่ของพื้นที่ จนมาถึงปัจจุบัน พื้นที่บางส่วนของ รังสิตกลายมาเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

โครงการนิทรรศการและเสวนาวิชาการ “ชีวประวัติของทุ่งรังสิต: จากเนื้อสมัน นาข้าว สาวโรงงาน ถึงนักศึกษา และเหี้ย” มีความมุ่งหวังที่จะเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงของ “ทุ่งรังสิต” ผ่านนิทรรศการ และการเสวนาวิชาการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในหมู่นักศึกษาและบุคคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมถึงบุคคลในพื้นที่รอบๆ มหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป ให้ตระหนักในความสำคัญของพื้นที่ “ทุ่งรังสิต” ซึ่งมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม


นิทรรศการ

จัดแสดง ณ โถงกลาง หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม – 20 กันยายน 2556

เสวนาวิชาการ

28 สิงหาคม 2556
9.00-16.00 น.
ณ ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

9.00-10.30 น.
ชีวประวัติของทุ่งรังสิต: จากเนื้อสมันถึงเหี้ย
ศรัณย์ บุญประเสริฐ
นักเขียนอิสระ

10.30-12.00 น.
โจรและชาวนาแห่งท้องทุ่งรังสิตในเครือข่ายคลองรังสิต เชียงราก-บางเหี้ย
อาจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มลายู-เชียงราก:
จากถิ่นใต้สู่ปทุมฯ หวายร้อยหูเอ็นร้อยขา ทำสวนพริกไทยถวายบรรณาการ

สุริยัน สุปินะ และคณะ
ชมรมโบราณคดีและไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมสนทนาโดย อาจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เล่าขานตำนานเชียงราก: จากสมัยอยุธยาสู่ประตูธรรมศาสตร์
จินตนา ประชุมพันธ์ และคณะ
ชมรมโบราณคดีและไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมสนทนาโดย อาจารย์พิพัฒน์ กระแจะจันทร์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ โทร. 02–564-4440-50 ต่อ 1752-53