สามัญดิจิทัล: พหุลักษณ์ของเทคโนโลยีสื่อและข้อมูลในสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

ccscs-seminar-2015-mundane digital

ลายเส้นพื้นหลังใบปิด: ปริญญ์ จอมอินตา
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เทคโนโลยีดิจิทัลมีความเชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัยในหลากมิติและหลายระดับ ในแง่หนึ่ง เทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลมักได้รับการอ้างอิงถึงในฐานะนวัตกรรมอันเป็นเงื่อนไขสำคัญของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งขณะเดียวกัน ก็นำไปสู่การก่อรูปของความรับรู้โดยทั่วไปว่าประสบการณ์ใน “โลกสมัยใหม่” นั้นยากที่จะแยกขาดจากโยงใยของเทคโนโลยีดิจิทัล ในอีกด้านหนึ่ง นัยของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้คนในสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย ก็เป็นประเด็นท้าทายสำหรับการศึกษาวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ไม่เพียงในมิติของการพยายามทำความเข้าใจพลวัตทางสังคมวัฒนธรรม แต่เป็นองค์ประกอบที่จุดประกายให้เกิดการพัฒนากรอบคำถาม ขยายพรมแดนการศึกษา และยิ่งไปกว่านั้น ยังกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายถกเถียงในระดับของระเบียบวิธีวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นคำถามว่าด้วยคุณลักษณะเฉพาะและความเป็นเอกเทศของขนบการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย ในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชนวิชาการสังคมศาสตร์ที่มีพันธกิจส่งเสริมการศึกษาวิจัยและกิจกรรมวิชาการเพื่อความเข้าใจปรากฏการณ์ร่วมสมัยอย่างรอบด้าน ตระหนักถึงความจำเป็นในการเปิดพื้นที่ให้กับการสำรวจความเคลื่อนไหวทางวิชาการและสะท้อนประสบการณ์วิจัยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเปิดกว้าง โดยได้รับเกียรติจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาและอาชีพ มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนในการสัมมนาว่าด้วย “สามัญดิจิทัล” เวทีแรกที่มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านพหุลักษณ์ของสาขาวิชาและระเบียบวิธีวิจัย เพื่อความเข้าใจพหุลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและเทคโนโลยีดิจิทัลในสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2558

สามัญดิจิทัล:
พหุลักษณ์ของเทคโนโลยีสื่อและข้อมูล
ในสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2558 เวลา 9.30-16.30 น.
ณ ห้องเอนกประสงค์ริมน้ำ ซั้น 1 คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


กำหนดการ

09.30 – 09.45 น.

กล่าวเปิดงาน โดย ดร.อนุสรณ์ อุณโณ
คณบดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

09.45 – 10.30 น. ปาฐกถา

มนุษย-สังคมศาสตร์ กับ ภววิทยาปริวรรตของดิจิทัล

ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


10.45 – 12.45 น. เวทีเสวนา #1

Big Data: ว่าด้วยสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์
กับนโยบายเทคโนโลยี-การจัดการข้อมูล

ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล
ปรัชญา บุญขวัญ
ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เครือข่ายขนส่งทำมือในยุคดิจิทัล
ยรรยง บุญ-หลง
สถาปนิกสมาคมสถาปนิกอเมริกา

big data กับสังคมศาสตร์ไทย
อัครนัย ขวัญอยู่
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

กฎหมายกับความเป็นส่วนตัวในโลกดิจิทัล
ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมอภิปราย-แลกเปลี่ยน
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
งานวิจัยและสื่อพลเมือง เครือข่ายพลเมืองเน็ต


13.30 – 14.00 น.

Data Journalism

สฤณี อาชวานันทกุล
นักเขียนและนักวิชาการอิสระ
ประธานคณะทำงาน เครือข่ายพลเมืองเน็ต

14.00 – 16.00 น. เวทีเสวนา #2

Tiny Bits: ว่าด้วยดิจิทัลในชีวิตสามัญ

นาโน: สัมผัสของหนึ่งในพันล้านส่วน
อานุภาพ สกุลงาม
กองวิชาการวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดิจิทัลที่รู้สึก: ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด
เทคโนโลยี และปฏิบัติการณ์ทางศิลปะ

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มือถือพม่าและชีวิตที่เคลื่อนย้าย
ดร.ประเสริฐ แรงกล้า
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วัฒนธรรมคือการก๊อปปี้: มองการเมืองผ่านการมีม
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล
งานวิจัยและสื่อพลเมือง เครือข่ายพลเมืองเน็ต
อาจินต์ ทองอยู่คง
นักวิจัยอิสระ


16.00 – 16.30 น. อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น