มานุษยวิทยา ยาต้านจุลชีพ และเชื้อดื้อยา
ใบปิด: สรัช สินธุประมา
การก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
No Man’s Land: คน สัตว์ สิ่งของ (ครั้งที่ 3)
มานุษยวิทยา ยาต้านจุลชีพ และเชื้อดื้อยา
23 มกราคม 2562
เวลา 13.30-16.30 น.
ห้องประชุมคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ร่วมเสวนาโดย
อาจารย์ สิทธิโชค ชาวไร่เงิน
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.ประชาธิป กะทา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อ
เชื้อจุลชีพดื้อยา (antimicrobial resistance) เป็นประเด็นหนึ่งที่องค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติให้ความสนใจในรอบทศวรรษที่ผ่านมา การจำกัดการใช้ยาในคน สัตว์ พืช เป็นแนวทางหลักที่ได้รับการส่งเสริมและหลายประเทศใช้เป็นมาตรการทางกฎหมายและสังคม รวมทั้งประเทศไทยด้วย เพราะพฤติกรรมการใช้ยาโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรีย (antibiotic) โดยเฉพาะการซื้อยากินเองของคนไข้ การจ่ายยาที่ผิดหลักการของบุคลากร และการใช้ยาเพื่อเร่งการเติบโตและป้องกันโรคระบาดในปศุสัตว์และพืชของเกษตรกร ถูกพิจารณาว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้จุลชีพกลายพันธุ์จนดื้อยา
การหันกลับมาสนใจเชื้อจุลชีพดื้อยาและการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในทศวรรษนี้ขององค์กรโลกบาลด้านสุขภาพและหลายประเทศในโลก ทำให้นักมานุษยวิทยาและนักสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์การแพทย์ตั้งคำถามและนำเสนอแนวคิดเพื่อร่วมถกเถียงกับกระแสความตื่นตัวนี้ด้วย เช่น แนวคิด “quick fix” ที่เสนอว่ายาปฏิชีวนะเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (แต่ไม่ระยะยาว) ของสังคมสมัยใหม่ การศึกษา “metrics” หรือการจัดเก็บข้อมูลตัวเลขการใช้ยาให้เป็นมาตรฐานทั่วโลก ในฐานะส่วนหนึ่งของกระแสคิด “สุขภาพโลก” (global health) และการสร้าง “องค์อธิปัตย์โลก” (global sovereign) ด้านสาธารณสุข การศึกษากระบวนการทำให้เรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็น “ภัยคุกคามโลก” (global threat) การตั้งคำถามต่อการใช้ภาษาและอุปมาเรื่องเชื้อดื้อยาและการใช้ยาปฏิชีวนะกับการทำสงครามและวันสิ้นโลก เป็นต้น
ติดตามข่าวสารกิจกรรมเนื่องในโอกาสครบรอบ 55 ปี การสถาปนาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ ที่นี่