การอบรมเชิงปฏิบัติการว่าด้วย Actor-Network Theory (ANT)

ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ร่วมกับ
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอเชิญร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ว่าด้วย

Actor-Network Theory (ANT)

โดย Associate Professor Casper Bruun Jensen
Department of Anthropology, Osaka University

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2560
เวลา 9.00-17.00 น.
ณ ห้องประชุมโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


Actor-Network Theory หรือ ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ เป็นแนวคิดสำคัญซึ่งก่อร่างสร้างตัวมาพร้อมกับการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านกรอบทางสังคมศาสตร์ นักคิดที่ร่วมกันพัฒนาแนวคิดและทำให้แนวคิดดังกล่าวนี้ปรากฏเป็นที่รู้จักอย่างกว้างในเวลาต่อมาประกอบด้วย บรูโน ลาตูร์ (Bruno Latour) มิเชล กัลลง (Michel Callon) และ จอห์น ลอว์ (John Law) โดยที่ในช่วงตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ทั้งสามคนได้นำแนวคิดทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำไปปรับใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยี ข้อถกเถียงเชิงปรัชญาของความรู้เชิงเทคนิค ตลอดจนกระบวนการสร้างและเผยแพร่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1990 ปรากฏว่าแนวคิดทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำได้เริ่มส่งผลทางความคิดและวิธีการศึกษาอธิบายสังคม และขยายตัวเข้าไปอาณาบริเวณของการอภิปรายในโลกของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์โดยเฉพาะปรัชญาสังคมและปรัชญาวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก

ในเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาแล้ว ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำได้ทลายปราการทางความคิดและก่อให้เกิดคำถาม วิธีการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมที่แปลกใหม่และน่าสนใจ ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำได้ทลายข้อจำกัดของศาสตร์ซึ่งถูกแบ่งแยกใน “โลกสมัยใหม่” ให้ออกจากกันบนฐานของเส้นแบ่งจำลองระหว่างศาสตร์ที่ศึกษาธรรมชาติและศาสตร์ที่ศึกษาสังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำยังได้นำเอาตัวแสดงทางสังคมกลับเข้าสู่การวิเคราะห์ ซึ่งทำให้นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสามารถทำความเข้าใจ “สังคม” ในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่บนฐานของกับดักขั้วตรงข้ามระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ผู้กระทำการและโครงสร้าง ความเป็นวัตถุกับความเป็นสังคม ตลอดจนความเป็นอัตวิสัยและภววิสัย กล่าวอีกอย่างก็คือว่า ทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำได้นำเอาฐานความคิดใหม่ของการอธิบาย “สังคม” ผ่านภววิทยาที่ให้คุณค่าต่อสรรพสิ่งในการแสดงออก ปฏิบัติการ ตลอดจนเชื่อมโยงเปลี่ยนถ่ายกันและกัน ในกระบวนการสร้างความรู้และการประกอบสร้างเทคโนโลยีและโครงข่ายพื้นฐานต่างๆ ในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้นั่นเอง

ในวงวิชาการไทย การสร้างความรู้ทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะในบริบทของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานั้น มีการนำทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด เนื่องด้วยการรับรู้และเวทีวิชาการในการอภิปรายถกเถียงถึงแนวคิดดังกล่าวนั้นยังมีอยู่ไม่มาก ส่วนหนึ่งของการเปิดพื้นที่ทางวิชาการดังกล่าว คือการจัดพิมพ์หนังสือรวมบทความวิชาการ ศาสตร์ อศาสตร์: เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน บรรณาธิการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทนี เจริญศรี เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหนังสือดังกล่าว ได้มีการเปิดประเด็นการศึกษาข้ามศาสตร์ที่อาศัยทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำมาเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยและสร้างกรอบคิดใหม่ๆ มากขึ้น

และเพื่อเป็นการต่อยอดการเปิดพื้นที่ทางวิชาการดังกล่าว คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจึงเห็นควรให้มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำ หรือ Actor-Network Theory (ANT) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและอภิปรายถกเถียงถึงแนวคิดดังกล่าวให้กว้างขวางออกไป โดยเชิญอาจารย์คาสเปอร์ บรูน เยนเซน (Dr. Casper Bruun Jensen; Department of Anthropology, Osaka University) มาเป็นวิทยากรในการบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักวิชาการรุ่นใหม่ของไทย ดร.เยนเซน เป็นนักวิชาการและนักทฤษฎีคนสำคัญในวงการการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (Science and Technology Studies: STS) ผู้มีผลงานตีพิมพ์มากมายและส่วนหนึ่งได้นำแนวคิดทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ เช่น หนังสือ Monitoring Movements in Development Aid: Recursive Partnerships and Aid Infrastructures (Jensen and Winthereik 2012) และ Ontologies for Developing Things: Making Health Care Futures Through Technology (2012) นอกจากนี้ ดร.เยนเซนยังเป็นบรรณาธิการร่วมในหนังสือรวมบทความ Infrastructures and Social Complexity: A Companion (Harvey, Jensen and Morita [eds] 2017) ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานกับความซับซ้อนทางสังคมผ่านทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำอีกด้วย


09.00-09.20 น. ลงทะเบียน

09.20-09.25 น.
กล่าวต้อนรับ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

09.25-09.30 น.
แนะนำ Associate Professor Casper Bruun Jensen
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จักรกริช สังขมณี
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

09.30-10.15 น.
บรรยาย Actor-Network Theory: An Overview
โดย Associate Professor Casper Bruun Jensen

เอกสารอ่านประกอบ
compulsory

  • Latour, Bruno. 1992. “Where are the Missing Masses?: Sociology of a Few Mundane Artefacts” In Shaping Technology-Building Society. Studies in Sociotechnical Change, Wiebe Bijker and John Law (editors), MIT Press, Cambridge Mass. pp. 225-259, 1992.

optional

  • Latour, Bruno. 1986. “The Power of Associations” In John Law (editor) Power, Action and Belief. A New Sociology of Knowledge?, Sociological Review Monograph, Keele, pp. 261-277.

10.15-11.00 น.
อภิปราย “สังคม” ในมุมมองทฤษฎีเครือข่าย-ผู้กระทำการ

11.15-12.00 น.
บรรยาย ANT กับการท้าทายเชิงภววิทยาและการปฏิบัติการทางสังคม
โดย Associate Professor Casper Bruun Jensen

เอกสารอ่านประกอบ
compulsory

  • Jensen, Casper Bruun. “New Ontologies? Reflections on Some Recent ‘Turns’ in STS, Anthropology and Philosophy” (draft)

optional

  • Pickering, Andrew. 1995. The Mangle of Practice” in The Mangle of Practice: Time, Agency, and Science. Chicago and London: The University of Chicago Press.

12.00-12.30 น.
อภิปรายแลกเปลี่ยนประเด็นจากการบรรยายและอภิปรายช่วงเช้า

13.30-14.15 น.
บรรยาย ANT ใน Science, Technology and Society (STS) studies

เอกสารอ่านประกอบ
compulsory

  • Jensen, Casper Bruun. 2016. “Pipe Dreams: Sewage Infrastructure and Activity Trails in Phnom Penh” Ethnos (2016)

optional

  • Jensen, Casper Bruun and Morita, Atsuro. 2016. “Infrastructures as Ontological Experiments” Ethnos (2016)

14.15-14.30 น.
อภิปรายและตอบข้อซักถาม

14.30-15.45 น.
อภิปรายกลุ่มย่อย ANT กับประเด็นวิจัยทางสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย

การแพทย์และชีวปฏิบัติการ

  • ประชาธิป กะทา
    PhD candidate Amsterdam Institute for Social Science Research,
    University of Amsterdam, The Netherlands,
    นักวิจัย สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

สื่อและวัฒนธรรมดิจิทัล

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร
    คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธรรมชาติและทรัพยากร

วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน

งานและระบบรัฐราชการ (bureaucracy)

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทนี เจริญศรี
    คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15.45-16.30 น.
การนำเสนอประเด็นจากการอภิปรายกลุ่มย่อย

16.30-17.00 น.
สรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ