เกิดมาหนึ่งชาติ ต้องกราบพระธาตุเมืองนคร: คนใต้ ศีลธรรม และการเมือง



เกิดมาหนึ่งชาติ ต้องกราบพระธาตุเมืองนคร:
คนใต้ ศีลธรรม และการเมือง

อนุสรณ์ อุณโณ

จัดพิมพ์โดย ศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ Thirdspace Publishing

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล
thirdspacebooks [at] gmail [dot] com

คำนำผู้เขียน

อนุสรณ์ อุณโณ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


หากเทียบกับคำเรียกคนในภูมิภาคอื่น เช่น “คนเหนือ” และ “คนอีสาน” แล้ว “คนใต้” เป็นคำเรียกคนในภูมิภาคที่มีผู้ร่วมสร้างอย่างคึกคักมากที่สุด เพราะนักวิชาการรวมถึง “ปัญญาชน” โดยเฉพาะในท้องถิ่นจำนวนมากไม่เพียงแต่ระบุอย่างชัดเจนว่า “คนใต้” มีบุคลิกลักษณะอย่างไร หากแต่ยังให้เหตุผลด้วยว่าเหตุใด “คนใต้” จึงมีบุคลิกลักษณะเช่นที่ว่านั้น …. อย่างไรก็ดี ความเป็น “คนใต้” โดยเฉพาะในทางการเมืองไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเฉพาะเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจเพียงลำพัง เพราะสิ่งนี้เป็นอัตลักษณ์ที่แยกไม่ออกจากการสร้างและตอกย้ำของนักวิชาการและ “ปัญญาชน” โดยเฉพาะด้านคติชนวิทยาและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นข้างต้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเป็นอัตลักษณ์ที่เกี่ยวโยงกับกลยุทธ์ทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชูความเป็น “พรรคคนใต้” ในการรณรงค์ทางการเมือง ขณะเดียวกันบุคลิกลักษณะความเป็น “คนใต้” ที่เข้าใจกันก็มีลักษณะเหมารวมและตีขลุม ละเลยความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนชาติพันธุ์และเพศสภาวะของคนในภูมิภาค หรือกระทั่งว่าคุณลักษณะของฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน ….

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นท่ามกลางข้อถกเถียงเกี่ยวกับ “คนใต้” ซึ่งทั้งนักวิชาการ “ปัญญาชน” ท้องถิ่น รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันสร้างและเลือกใช้ ขณะเดียวกันก็เขียนขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองร่วมสมัยที่การมีส่วนของคนในภาคใต้ท้าทายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “คนใต้” ที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมอย่างสำคัญ โดยอาศัยหมู่บ้านแห่งหนึ่งใน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ในการศึกษา โดยชี้ให้เห็นว่าคนในหมู่บ้านมีชีวิตทางการเมืองรวมทั้งสร้างและแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์และตัวตนทางการเมืองของพวกเขาอย่างไร ทั้งที่อยู่ในรูปของการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ การเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง การมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐ และกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม พร้อมกับชี้ว่าชีวิตรวมทั้งอัตลักษณ์และตัวตนทางการเมืองของพวกเขาวางอยู่บนเงื่อนไขและปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งเศรษฐกิจแบบใด มีนัยทางศีลธรรมอย่างไร และการมีส่วนในความขัดแย้งทางการเมืองของพวกเขาส่งผลกระทบและมีนัยอย่างไรต่อการเมืองไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ต้นฤดูฝนพุทธศักราช 2560 บ้านสรงประภา ดอนเมือง


อ่านคำนำผู้เขียนฉบับเต็มได้ ที่นี่