ผับเพื่อชีวิต: กระบวนการแปรรูปเพลงเพื่อชีวิตในอุตสาหกรรมวัฒนธรรม

ชนิดา ชิตบัณฑิตย์

วารสารไทยคดีศึกษา ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม 2554 – มีนาคม 2555) ฉบับ สินค้า วัฒนธรรม พรมแดน: การเดินทางข้ามพื้นที่และกรอบจารีต


บทคัดย่อ

“ผับเพื่อชีวิต” เป็นสถานบันเทิงประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับกระแสการเติบโตของระบบทุนนิยมในสังคมไทย ผับเพื่อชีวิตได้นำเอา “เพลงเพื่อชีวิต” และบรรยากาศแบบ “เพื่อชีวิต” มาเป็นจุดขายหลักในการดึงดูดลูกค้า ด้วยการนำเสนออัตลักษณ์ที่แตกต่างจากสถานบันเทิงประเภทอื่น

ในอดีตเพลงเพื่อชีวิตมีลักษณะเป็น “เพลงการเมือง” ที่รับใช้การต่อสู้ของขบวนการนักศึกษาประชาชน และ “เพลงปฏิวัติ” ที่รับใช้อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน บทบาทของเพลงเพื่อชีวิตได้ถูกปรับเปลี่ยนมาสนองตอบต่อกระแสการบริโภคนิยมของระบบทุนนิยม และได้พัฒนามาสู่การเป็นสินค้าในธุรกิจสถานบันเทิง ส่งผลทำให้นิยามความหมายของ “เพื่อชีวิต” ถูกนำมาใช้ในการตอบสนองระบบทุนนิยม

Abstract

“Pub for Life” is a type of entertainment venue that occurs concurrently with the growth
of Thai capitalist system. The “Songs for Life” and the “For Life” atmosphere have been employed in Pub for life as a major selling point to attract the customers by offering an ideal identity distinct from other types of entertainment venues.

In the past, Songs for life was considered not only as a “political song” utilized as a cultural tool for the people’s and students’political movements (during the Cold War period), but also as a “revolutionary song” to exert thepolitical ideology of the Communist Party of Thailand (CPT) on Thai society.

The roles of the music for life have been commoditized to serve the consumerism of the capitalist system. It has commoditized into a product of the night’s entertainment business, resulted in the changing definition of “for life” into the capitalist system. Pub for life has appeared to respond to the consumption patterns and lifestyles of people in the middle class, working class and the sexual diversity people where have been intensively controlled by capitalist society and the state.