มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน




มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ:
บทเรียนจากเพื่อนบ้าน


สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
บรรณาธิการ

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
บรรณาธิการเล่ม

จัดพิมพ์โดย
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

อ่านและดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)


หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน (Heritage of the Nations : lessons learned from the neighboring countries) จัดพิมพ์ขึ้นโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” (Intangible Cultural Heritage) ตาม “อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” พ.ศ.2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage, 2003) ขององค์การยูเนสโก หรือองค์การสหประชาชาติเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization-UNESCO) ซึ่งประเทศไทยได้ดำรงสถานะเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาฯ โดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2559 ภายหลังจากยื่นหนังสือการให้สัตยาบันไปเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2559

หนังสือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ: บทเรียนจากเพื่อนบ้าน ประกอบด้วยเนื้อหาสองส่วน คือ บทนำ ที่จะให้ภาพรวมของความเป็นมาเชิงประวัติของอนุสัญญาฯ นับตั้งแต่ที่มาและพัฒนาการภายใต้การดำเนินขององค์การยูเนสโกรวมถึงความเป็นมาและการดำเนินงานของประเทศไทยภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมที่นำไปสู่การออก “พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559” ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับอนุสัญญาฯของยูเนสโกอย่างใกล้ชิด

ในส่วนที่สอง ประกอบด้วยบทความแปลจำนวน 6 บทที่ให้ภาพทั้งในทางกว้างและทางลึกอันเนื่องด้วยหลักการและข้อปฏิบัติของอนุสัญญาฯ ผ่านกรณีตัวอย่างของประเทศเพื่อนบ้านและจากประเทศในภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดหวังว่า จะช่วยขยายความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ ข้อปฏิบัติรวมถึงข้อถกเถียงที่เกี่ยวเนื่องกับ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ” (Intangible Cultural Heritage) ที่เกิดขึ้นในบริบททางสังคมที่หลากหลายซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนที่จำเป็นในฐานะที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกโดยสมบูรณ์ของอนุสัญญาฯ ได้แก่

  1. “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่มีชีวิตของกลุ่มชน” โดย เฟรเดอริโก เลนเซอรินี
    แปลโดย อิสระ ชูศรี
    จาก “Intangible Cultural Heritage: The Living Culture of Peoples” by Federico Lenzerini
  2. “ของฉัน ของเธอ หรือของเรา: ความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียเหนือมรดกวัฒนธรรมร่วม” โดย จิน วิน ชอง
    แปลโดย เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์
    “Mine, Yours or Ours?”: The Indonesia-Malaysia Disputes over Shared Cultural Heritage by Jinn Winn Chong
  3. “เมื่อไม่มีผลงานชิ้นเอก: ผลกระทบอันแจ้งชัดและมรดกวัฒนธรรมที่มิใช่กายภาพในโลกที่มีพรมแดน” โดย เคธี่ โฟลีย์
    แปลโดย สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
    No More Masterpieces: Tangible Impact and Intangible Cultural Heritage in Bordered Worlds” by Kathy Foley
  4. จากรูปแบบของพิธีกรรมสู่จุดดึงดูดนักท่องเที่ยว: การต่อรองการแปลงรูปแบบนาฏศิลป์ดั้งเดิมของกัมพูชาในโลกที่เปลี่ยนแปลง โดย เซเลีย ทุขแมน-รอสตา
    แปลโดย อิสระ ชูศรี
    From Ritual Form to Tourist Attractioin: Negotiating the Transformation of Classical Cambodian Dance in a Changing World” by Celia Tuchman-Rosta
  5. “การฉวยใช้วัฒนธรรม: การเมืองของมรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพในเวียดนาม” โดย ออสการ์ ซาเลมิงค์
    แปลโดย เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์
    Appropriating Culture: The politics of intangible cultural heritage in Vietnam” by Oscar Salemink
  6. “บทบาทพิพิธภัณฑ์กับการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ” โดย พัน โสวหย่ง
    แปลโดย พจนก กาญจนจันทร
    Museums and the Protection of Cultural Intangible Heritage” by Pan Shouyong