ผู้สูงอายุในสังคมจีน : การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม (ฉบับตีพิมพ์)

ผู้สูงอายุในสังคมจีน:
การจัดสวัสดิการต้นแบบการดูแลและกิจกรรมทางสังคม

ธีระ สินเดชารักษ์ และคณะ
จัดพิมพ์โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หนังสือนี้เป็นผลงานตีพิมพ์จากโครงการวิจัย “ผู้สูงอายุในสังคมจีน: การจัดสวัสดิการ ต้นแบบการดูแล และกิจกรรมทางสังคม” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

บทคัดย่อ

ธีระ สินเดชารักษ์
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ในงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาระบบการจัดสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุใน ประเทศจีน 2) เพื่อศึกษาต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุจีนในพื้นที่ที่มีความน่าสนใจ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทาให้เกิด กิจกรรมทางสังคมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพ ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้อาศัยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participatory Observe) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Indepth Interview) โดยกำหนดพื้นที่ในการศึกษาไว้ 2 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนครซ่างไห่ (Shanghai) เขตจิ้งอัน (Jing’an) และมณฑลซื่อชวน (Sichuan) เมืองเฉิงตู (Chengdu) ผลการศึกษาพบว่า

  1. ในการจัดสวัสดิการด้านความมั่นคงทางรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุในปัจจุบันของจีนแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ การประกันสังคม (Social Insurance) และการช่วยเหลือทางสังคม (Social Assistance) การประกันสังคมประกอบด้วยความคุ้มครอง 5 ประการ คือ บานาญสาหรับผู้สูงอายุ การว่างงาน การ รักษาพยาบาล การบาดเจ็บจากการทางานและการทดแทน และการคลอดบุตร การช่วยเหลือทางสังคมเป็น การจัดตั้งกองทุนสนับสนุนของรัฐเพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคลและครอบครัวที่ตกอยู่ภายใต้ความยากจน เพื่อให้มีความเป็นอยู่ การรักษาพยาบาล การศึกษา ที่อยู่อาศัย หรือความต้องการอื่น ๆ ตามอัตภาพ
  2. ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุมีลักษณะไปเช้าเย็นกลับของทั้งสองพื้นที่พบว่า การบริการในศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุย่อมมีความแตกต่างกันไปตามบริบทในแต่ละชุมชน และที่มาของการก่อตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เขตจิ้ง อัน เริ่มต้นจากรัฐบาลเขตจิ้งอันได้ลงนามในสัญญาข้อตกลงกับรัฐบาลเทศบาลนครซ่างไห่ให้พัฒนาเขตจิ้งอัน เป็นเขตตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ สาหรับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในเขตเวินเจียง (spirit home) นั้น ตั้งขึ้นโดย องค์กรที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ NPO-Non Profit Organization ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทั้งสองพื้นที่มีการ เกิดอาสาสมัครเข้ามาดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเกิดความร่วมมือกันระหว่างชุมชนและภาครัฐในการเข้ามามี บทบาทร่วมกันในการดูคนในชุมชน ซึ่งก่อให้เกิด เกิดความรู้สึกผูกพันและรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน ผู้สูงอายุรู้สึก ไม่ถูกทอดทิ้ง จุดเด่นของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งสองพื้นที่ ยังมีความคล้ายคลึงกันด้านการให้บริการด้วยใจรักของ เจ้าหน้าที่ประจาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนในระดับที่เป็นผู้ดูแลศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจะเรียนจบในสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทาให้มีบริการที่ดี ได้มาตรฐานเป็นมืออาชีพ นอกจากนี้รัฐบาลจีนให้ ความสาคัญกับผู้สูงอายุในเรื่องการจัดการที่อยู่อาศัย โดยนึกถึงสภาพร่างกายและความสะดวกของผู้สูงอายุ เป็นหลัก
  3. กิจกรรมของผู้สูงอายุทั้ง 2 เขตพื้นที่ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมแนวสันทนาการและ นันทนาการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรม และกิจกรรมการให้บริการเพื่อทาประโยชน์ให้กับ สังคม สาหรับเขตเขตจิ้งอันพบกิจกรรมเฉพาะ คือกิจกรรมหาคู่ให้เป็นศูนย์รวมผู้สูงอายุให้มารวมกลุ่มกันใน การทากิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลครอบครัวและบุตรของตน กิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป็นกิจกรรมด้าน ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทาให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกับสังคมได้ สาหรับในเมืองช่างไห่ เป็นเขตเทศบาลนครได้มีการ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ให้ความรู้และมีกิจกรรมต่อยอดในการเข้าร่วมกิจกรรมจึงมีมหาวิทยาลัยของ ผู้สูงอายุเกิดขึ้น ด้านการใช้พื้นที่สาธารณะในประเทศจีน ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ได้อย่าง อิสระเสรี ใกล้ชุมชน เดินทางสะดวก รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นกับประชาชนและผู้สูงอายุทั้ง พื้นที่สาธารณะ การปลูกฝังค่านิยมในวัยรุ่นให้รักสุขภาพ รักการออกกาลังกาย ส่งผลต่อทัศนคติของผู้สูงอายุให้ รักการออกกาลังกายไปด้วย