ผลการตัดสินรางวัลการประกวดข้อเขียน “คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง”
ประกาศศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรื่อง ผลการตัดสินรางวัลการประกวดข้อเขียน
“คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง” [อ่าน]
ตามที่ ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมประกวดข้อเขียน หัวข้อ “คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง” มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยารวมทั้งสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในงานสัมมนาประจำปี 2556 ของศูนย์ฯ โดยได้เปิดรับข้อเขียนทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม – 8 กันยายน 2556 ที่ผ่านมานั้น และได้มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดรวมทั้งสิ้น 26 ชิ้น แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี 21 ชิ้น และระดับบัณฑิตศึกษา 5 ชิ้น
บัดนี้ การพิจารณาตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ทางศูนย์ฯ จึงขอประกาศผลการตัดสินผลงานที่ได้รับรางวัล ดังรายละเอียดด้านล่าง และจะได้ทำการมอบรางวัลที่งานสัมมนาวิชาการ “คน ในกระแสการเปลี่ยนแปลง” วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556 ในเวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ (ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์)
คำประกาศเกียรติคุณ
ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลการประกวดบทความหัวข้อ “คน” ในกระแสการเปลี่ยนแปลง ทุกท่าน กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยารวมทั้งสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในงานสัมมนาประจำปี 2556 ของศูนย์ฯ เป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาได้วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคนในสังคมร่วมสมัยในแง่มุมอันหลากหลาย ทั้งในส่วนที่เป็นปัญหาและความท้าทายและในส่วนที่เป็นโอกาสและความเป็นไปได้แบบใหม่ โดยนักศึกษาที่ได้รับรางวัลได้แสดงให้เห็นว่าความเปลี่ยนแปลงในสังคมร่วมสมัยประกอบด้วยสิ่งใดบ้างและส่งผลกระทบต่อชีวิตคนอย่างไร ขณะเดียวกันพวกเขาได้แสดงให้เห็นว่าคนในสังคมร่วมสมัยได้ต่อสู้ดิ้นรนรวมทั้งพยายามใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างไรด้วย ศูนย์ฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการมีส่วนร่วมและได้รับรางวัลจากกิจกรรมการประกวดบทความในงานสัมมนาประจำปีของศูนย์ฯ ครั้งนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้นักศึกษาได้ทำการศึกษาค้นคว้าชีวิตคนในกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยละเอียดและลึกซึ้งยิ่งขึ้นในลำดับต่อไป
รางวัลผลงานระดับบัณฑิตศึกษา
1. รางวัลผลงานดีเยี่ยม
จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- คนขายตัวบ้า คนบ้าขายตัว กับ หมา สาม สี่ ตัว
โดย บุษบงก์ วิเศษพลชัย
นักศึกษาปริญญาเอก สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. รางวัลผลงานดี
จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- โรฮิงยา ชีวิตภายใต้อำนาจ จากชายแดนด้านตะวันตกของพม่าถึงไทย
โดย ศิววงศ์ สุขทวี
นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. รางวัลชมเชย
จำนวน 2 รางวัล (เงินรางวัล รางวัลละ 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- คนในผู้สูญเสียพื้นที่ภายใน
โดย องค์ บรรจุน
นักศึกษาปริญญาเอก วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ - ชายหาดและชุมชนที่เปลี่ยนไป:
การท่องเที่ยวที่เติบโตและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในฝั่งหนึ่งของเกาะยาวใหญ่
โดย วรรณธิดา สายพิมพ์
นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตอาสาสมัคร รุ่นที่ 44
สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รางวัลผลงานระดับปริญญาตรี
1. รางวัลผลงานดีเยี่ยม
จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- ตัวตน “คนพิการ”: การต่อสู้ คัดค้านความพิการทางสังคม
โดย ปริญญา สมบุญยิ่ง
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต สาขาการวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. รางวัลผลงานดี
จำนวน 1 รางวัล (เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- ตึกแถวเลขที่ 42: ร้านแม่ตุ๊ ข้าวขาหมู-ก๊วยจั๊บน้ำข้น ชุมชนท่าช้างวังหลวง
โดย มณสิชา รุ่งชวาลนนท์
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
3. รางวัลชมเชย
จำนวน 2 รางวัล (เงินรางวัล รางวัลละ 2,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- เกิดเป็นลูก ‘ญี้ผ่า’
โดย หมี่เบอ แลเซอะ
นักศึกษาสาขาชาติพันธุ์ศึกษา ชั้นปีที่ 4
วิทยาลัยนานาชาติภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย - ผู้สูงอายุท่ามกลางกระแสการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
โดย สโรชพันธุ์ สุภาวรรณ์
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการวิจัยสังคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
นอกจากนี้ คณะกรรมการตัดสินได้มีมติให้เพิ่มรางวัลพิเศษในระดับปริญญาตรีอีก 4 รางวัล เพื่อสนับสนุนนักสังคมศาสตร์รุ่นใหม่ คือ
4. รางวัล “ชื่นชม”
จำนวน 4 รางวัล (เงินรางวัล รางวัลละ 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร)
- อาหารทะเล ชีวิตชาวประมง และการอยู่รอดของคนพื้นบ้าน
กรณีศึกษาตำบลบ้านโขด จังหวัดชลบุรี
โดย นันทพร เหมือนเดช
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - นักศึกษาโคโยตี้
โดย สรวิชญ์ เลขาวิจิตร
นักศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - เมืองกับชนบทในกระแสการเปลี่ยนแปลง:
สังคมไทยในภาวะกลับตาลปัตรของสองนคราประชาธิปไตย
โดย กรกฤช สมจิตรานุกิจ
นิติชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย - จาก “แก๊งซามูไร” สู่ “NDR”:
การสร้างอัตลักษณ์วัยรุ่นเชียงใหม่ภายใต้ภาพลักษณ์ด้านลบ และการใช้ความรุนแรง
โดย อรนิตย์ เรือนคำ
นักศึกษาภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่