Delta Ontologies: Infrastructural Transformations in Southeast Asia
image credits:
- Jakarta, Indonesia in Infrared at Night (NASA, International Space Station, 12/25/11)
- Archive: Bangkok-Rayong, Thailand at Night (Archive: NASA, International Space Station, 12/13/10)
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ
สมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม (SASA)
ขอเชิญร่วมกิจกรรมวิชาการ
สรวลเสวนาสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา ครั้งที่ 1/2557
Delta Ontologies:
Infrastructural Transformations in Southeast Asia
Atsuro Morita (Osaka University)
Casper Bruun Jensen (IT University of Copenhagen)
ร่วมอภิปรายโดย จักรกริช สังขมณี
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันพุธที่ 20 สิงหาคม 2557
เวลา 9.00-12.30 น.
ห้องประชุมโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
กำหนดการ
9.00 น. ลงทะเบียน
9.30-12.00 น.
การบรรยาย หัวข้อ “Delta Ontologies:
Infrastructural Transformations in Southeast Asia”
12.00-12.30 น. ตอบข้อซักถามและอภิปราย
* บรรยายและอภิปรายเป็นภาษาอังกฤษ *
องค์ความรู้ว่าด้วยระบบนิเวศมีส่วนสำคัญอย่างมากในการกำหนดวิถีชีวิตทั่วไปของผู้คนในสังคม การศึกษาทางมานุษยวิทยาได้หันมาให้ความสนใจกับการศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาทั้งจากมุมมองของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและองค์ความรู้ท้องถิ่นในการจัดการกับระบบนิเวศในท้องถิ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พื้นที่ดินดอนปากแม่น้ำเป็นพื้นที่นิเวศที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ การค้า การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้คนที่เชื่อมโยงกับแม่น้ำ
การบรรยายเรื่อง Delta Ontologies: Infrastructural Transformations in Southeast Asia ในครั้งนี้ เป็นการบรรยายที่มาจากงานวิจัยของนักวิชาการที่สนใจการสร้างองค์ความรู้นิเวศแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความรู้ดังกล่าวเชื่อมโยงกับเรื่องของการสร้างข้อมูล สาธารณูปโภค และโครงข่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการกับพื้นที่ปากแม่น้ำ และชี้ให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่อิงอยู่กับวัฒนธรรมที่มนุษย์กลุ่มต่างๆ เลือกใช้ในการจัดการทรัพยากรนิเวศและวัฒนธรรม โดยนักวิชาการที่เชิญมาบรรยายเป็นผู้ที่มีบทบาทในวงวิชาการด้านมานุษยวิทยา และการศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์ อีกทั้งมีความร่วมมือกับโครงการวิจัยและการประชุมระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ตระหนักถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับนักวิชาการในระดับนานาชาติ และหน้าที่ของคณะฯ ในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์สู่สังคม ทางคณะฯ และสมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม (SASA) จึงประสานความร่วมมือและดำเนินการจัดการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสรวลเสวนาสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา ประจำปี พ.ศ.2557
อ่านบทความ “A Cyborg Delta: The Interplay of Infrastructures in the Amphibious Space in the Lower Chao Phraya River Basin in Thailand” โดย Atsuro Morita ได้ ที่นี่
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการบรรยายวิชาการสาธารณะ “Science, Technology and Anthropology: (Post) Actor-Network Theory, Ontology and Multi-Species Ethnography” โดย Atsuro Morita และ Casper Bruun Jensen ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ ที่นี่