รักสมัยใหม่ : สังคมวิทยาความรัก | Modern Love : Sociology of Love
รักสมัยใหม่ : สังคมวิทยาความรักModern Love : Sociology of Loveวิลาสินี พนานครทรัพย์จัดพิมพ์โดย โครงการจัดพิมพ์คบไฟ (2567) ความรักของนักสังคมวิทยา ส่วนหนึ่งจาก รักสมัยใหม่: สังคมวิทยาความรัก โดย วิลาสินี พนานครทรัพย์ หากมองย้อนกลับไปในช่วงก่อนคริสต์ศักราช 1970 การศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรักในทางสังคมวิทยามีอยู่น้อยมาก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการศึกษาของสังคมวิทยาในยุคแรกเริ่ม เป็นความพยายามทำให้เห็นความเป็นศาสตร์เฉพาะทางของตน โดยเฉพาะการแยกสังคมวิทยาจากจิตวิทยาอย่างชัดเจนโดยการใช้ระดับของการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน เพราะความรักของผู้คนในสังคมมักถูกมองในฐานะอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล ดังนั้นจึงมักถูกอธิบายภายใต้มุมมองทางจิตวิทยาผ่านกลไกการทำงานของจิต หรือกระบวนการทางอารมณ์ที่ปัจเจกบุคคลต้องเผชิญเมื่ออยู่ในห้วงอารมณ์แห่งความรัก อาทิ ความใกล้ชิดผูกพันระหว่างบุคคลที่นำไปสู่ความรู้สึกรัก ความรู้สึกตื้นเต้น อิ่มเอม เมื่ออยู่ในห้วงของความรัก หรือแม้แต่การตกอยู่ในภาวะโศกเศร้าเมื่อต้องสูญเสียความรักหรือคนรัก กล่าวคือ มักมุ่งวิเคราะห์สถานการณ์ทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคล เนื่องจากมองว่าความรักเป็นเรื่องของอารมณ์และประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่เกี่ยวข้องกับสังคมหรือมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวชัดเจน ด้วยเหตุนี้ งานของนักสังคมวิทยายุคคลาสสิกจึงแทบจะไม่มีงานใดที่ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรักอย่างชัดเจน มีเพียงการอธิบายความรักที่แทรกตัวอยู่ในการศึกษาบางชิ้น อาทิ ใน Suicide (1897) เดอไคฮ์มชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง “ความรักของคนในครอบครัว” (family love) กับ “ความรักแบบพิศวาส” (passionate love) ว่าเป็นคู่ตรงข้ามของหน้าที่กับความหลงใหล ในทัศนะของเดอไคฮ์ม […]
จินตนาการทางสังคมวิทยา | The Sociological Imagination
จินตนาการทางสังคมวิทยาThe Sociological ImaginationC. Wright Mills เขียนจันทนี เจริญศรี แปลภาคิน นิมมานนรวงศ์ บรรณาธิการจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ bookscape (2567)โดยได้รับทุนสนับสนุนบางส่วนจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซี. ไรต์ มิลส์ (1916-1962) ศาสตราจารย์สังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สั่นสะเทือนวงการสังคมศาสตร์ด้วยหนังสือที่นำเสนอกรอบคิดอมตะข้ามกาลเวลา บทวิพากษ์ที่ลงลึกถึงแก่น และแนวทางการทวงคืน “คำมั่นสัญญา” ที่คนในสังคมศาสตร์ทอดทิ้งไป จินตนาการทางสังคมวิทยา คือถ้อยความว่าด้วยภารกิจที่สังคมศาสตร์มีต่อสังคม คือพลังที่จะศึกษาปัญหาสังคมอย่างสัมพันธ์กับชีวิตบุคคลและประวัติศาสตร์ คือคุณสมบัติทางปัญญาที่ทำให้นักสังคมศาสตร์สร้างงานที่ดีที่สุดในชีวิตออกมาได้ คือวิธีทำความเข้าใจโลกซึ่งอยู่เลยพ้นออกไปจากชีวิตของตัวเอง The Sociological Imagination เผยเบื้องหลังการพัฒนาจินตนาการทางสังคมวิทยา พร้อมกับบทวิพากษ์เผ็ดร้อนต่อวงวิชาการสังคมศาสตร์ที่ป่วยไข้ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางของสังคมศาสตร์ที่นับวันยิ่งหลุดลอยจากความจริงทางสังคม การลุ่มหลงกับอภิทฤษฎีที่ดูยิ่งใหญ่แต่ไร้ความหมาย การวิจัยที่สนใจวิธีศึกษาสวยหรูทางสถิติแต่ละเลยมิติอื่นที่สำคัญ และการเติบใหญ่ของนักเทคนิคที่ทำงานตามใบสั่ง นี่คือคู่มือด้านสังคมศาสตร์ฉบับคลาสสิกสำหรับนักศึกษาและผู้แสวงหาความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแท้จริงในทุกศาสตร์ ทั้งสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา และมานุษยวิทยา ดูรายละเอียดการสั่งซื้อและอ่านบทที่ 1 “คำมั่นสัญญา” ได้ที่เว็บไซต์สำนักพิมพ์ อ่านแบบ E-book: Meb: https://t.ly/VKkYv Pinto: https://t.ly/GYg8K
พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น: จากวัตถุที่จัดหาและได้มาในยุคอาณานิคม สู่นิทรรศการที่โอบรับคนทุกวัฒนธรรม
พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น: จากวัตถุที่จัดหาและได้มาในยุคอาณานิคม สู่นิทรรศการที่โอบรับคนทุกวัฒนธรรมThe Museum of Other People: from colonial acquisitions to cosmopolitan exhibitionsAdam Kuper เขียนวรรณพร เรียนแจ้ง แปลจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน (2567) วัตถุที่ชาวตะวันตก “ฉกชิง” ไปในยุคอาณานิคมควรจะถูกส่งคืนให้ “เจ้าของ” แล้วถ้า “เจ้าของ” ที่ว่านี้ไม่อยู่แล้วล่ะ? คนกลุ่มเดียวที่พูดถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองได้อย่างชอบธรรมก็คือตัวชนพื้นเมืองเอง จริงหรือ!? วัตถุของ “ชาติ” ไหน ก็ควรจะได้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ของชาตินั้นๆ แม้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่ได้มาตรฐาน มีปัญหาเรื่องการคอรัปชั่น หรือการโจรกรรมอย่างนั้นน่ะหรือ? ร่วมกระโจนเข้าสู่โลกอันพิลึกพิลั่นของ “พิพิธภัณฑ์” เพชรยอดมงกุฎแห่งความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์ ซึ่งมีพัฒนาการความเป็นมาที่แยกไม่ขาดจากประวัติศาสตร์อันอำมหิตโชกเลือดของจักรวรรดินิยมตะวันตก ตลอดจน “ภัณฑารักษ์” ผู้มีบทบาทในการรังสรรค์คลังสะสมและนิทรรศการว่าด้วย “ผู้เป็นอื่น” — ผองชนซึ่งอยู่พ้นไปจาก “ยุโรปที่เป็นอารยะแล้ว” — อันจะเป็นชนวนเหตุให้เกิดข้อพิพาทถกเถียงในเรื่องสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและการฉกฉวยทางวัฒนธรรม ซึ่งยังคงส่งผลสะเทือนมาจนถึงปัจจุบัน
มานุษยวิทยาจริยศาสตร์ : มนุษย์ สิ่งที่ดี และอนาคต
มานุษยวิทยาจริยศาสตร์ : มนุษย์ สิ่งที่ดี และอนาคตดร. ประเสริฐ แรงกล้าจัดพิมพ์โดย สำนักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2565)หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2565หนังสือเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2564 คำนำ ในระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 ขณะทำวิจัยเรื่องอนาคตกับแรงงานสัญชาติพม่าในเมืองประมงแห่งหนึ่งในภาคใต้ของไทย ผู้เขียนพบว่า ผู้ให้ข้อมูลจำนวนมากมีชีวิตอยู่กับการตัดสินใจและการกระทำที่น่าลำบากใจหลายเรื่อง นับตั้งแต่ การเปลี่ยนงานใหม่ เพราะอยากได้งานที่ดีกว่าและมีรายได้มากขึ้น แม้จะต้องทำเอกสารใหม่และมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สามีภรรยาคู่หนึ่งกลับไปอยู่พม่าพร้อมแผนเปิดร้านขายของชำในหมู่บ้าน เพราะร่างกายในวัยเกือบ 60 ปีมีปัญหาสุขภาพจนไม่เหมาะกับงานหนักอีกต่อไป แรงงานพม่าบางรายที่อยู่อาศัยอยู่เป็นเวลานานมีช่องทางเปิดร้านขายสินค้าและอาหารพม่า ทั้งที่รัฐไทยบอกว่าการประกอบการของแรงงานข้ามชาติเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ในด้านความสัมพันธ์ หลายครอบครัวพยายามจัดการและตักเตือน คู่ชีวิตหรือพ่อแม่ (ผู้อยู่ที่พม่า) ที่เล่นการพนันและมักทำให้ครอบครัวสูญเสียทรัพย์สิน แรงงานที่เป็นพ่อแม่ต้องคิดหาทางรับมือกับพฤติกรรมเกเรและใช้ยาเสพติดของลูกวัยรุ่นที่ติดตามมาทำงานในไทย ส่วนพ่อแม่ที่มีลูกเล็กรู้สึกคิดถึงลูกที่นำไปฝากให้ญาติเลี้ยงที่พม่าและคอยตำหนิตนเองว่าไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ดีพอ และสุดท้าย แรงงานที่เป็นลูกที่มาทำงานในไทยต่อเนื่องยาวนาน (บางกรณีอาจมากกว่า 20 ปี) คิดหาวิธีการดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่าและล้มป่วยอยู่ที่พม่า โดยตัวเองไม่ต้องกลับไปตกงานขาดรายได้อยู่ที่บ้าน สถานการณ์เหล่านี้สร้างคำถามให้กับผู้เขียนว่า สถานะการเป็นคนงานข้ามชาติ เป็นแม่ค้า เป็นสามีหรือภรรยา เป็นพ่อแม่ และเป็นลูก (ของพ่อแม่ที่อยู่พม่า) ดำรงอยู่ได้อย่างไรท่ามกลางความเป็นอยู่อย่างยากลำบากและมีรายได้น้อยของชีวิตแรงงานข้ามชาติ […]
โบราณคดี: อดีต มนุษย์และสังคม
โดย ผศ. ดร. พจนก กาญจนจันทร
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (2565)
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในกระแสข้ามศาสตร์
จัดพิมพ์และเผยแพร่ให้เข้าถึงโดยเสรี (open access)โดยงบประมาณสนับสนุนจากฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2565 ISBN 978-616-488-320-8 บรรณาธิการต้นฉบับ: อภิรดา มีเดช | ศรัณย์ วงศ์ขจิตร พิสูจน์อักษร: ศรัณย์ วงศ์ขจิตร รูปเล่ม: เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย แบบปก: สกลชนก เผื่อนพงษ์ พิมพ์ที่: บริษัท โอ.เอส. พรินติ้งเฮาส์ จำกัด ดาวน์โหลดหนังสือทั้งเล่ม: [pdf] สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในกระแสข้ามศาสตร์by คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์is licensed under a Creative CommonsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0International License. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรณาธิการ บทความ บทบรรณาธิการ: เมื่อนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยารุ่นใหม่สนทนาข้ามศาสตร์ [pdf] ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ […]
In Memoriam | Miangul Adnan Aurangzab (1961-2022)
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่ออสัญกรรมของเมียงกูล อัดนัน โอรังเซป (Miangul Adnan Aurangzab) ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสานความสัมพันธ์ด้านการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างปากีสถานกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
อุทิศครู: Professor Charles Keyes
โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิติ ภวัครพันธ์ุ
กรรมการประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาลัยศาสตราจารย์ Charles F. Keyes
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยต่อการจากไปของศาสตราจารย์คายส์มา ณ ที่นี้
มานุษยวิทยาอุษาคเนย์
ดร.พิเชฐ สายพันธ์
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564)