มานุษยวิทยาจริยศาสตร์ : มนุษย์ สิ่งที่ดี และอนาคต
มานุษยวิทยาจริยศาสตร์ : มนุษย์ สิ่งที่ดี และอนาคตดร. ประเสริฐ แรงกล้าจัดพิมพ์โดย สำนักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2565)หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2565หนังสือเล่มนี้ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2564 คำนำ ในระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 ขณะทำวิจัยเรื่องอนาคตกับแรงงานสัญชาติพม่าในเมืองประมงแห่งหนึ่งในภาคใต้ของไทย ผู้เขียนพบว่า ผู้ให้ข้อมูลจำนวนมากมีชีวิตอยู่กับการตัดสินใจและการกระทำที่น่าลำบากใจหลายเรื่อง นับตั้งแต่ การเปลี่ยนงานใหม่ เพราะอยากได้งานที่ดีกว่าและมีรายได้มากขึ้น แม้จะต้องทำเอกสารใหม่และมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สามีภรรยาคู่หนึ่งกลับไปอยู่พม่าพร้อมแผนเปิดร้านขายของชำในหมู่บ้าน เพราะร่างกายในวัยเกือบ 60 ปีมีปัญหาสุขภาพจนไม่เหมาะกับงานหนักอีกต่อไป แรงงานพม่าบางรายที่อยู่อาศัยอยู่เป็นเวลานานมีช่องทางเปิดร้านขายสินค้าและอาหารพม่า ทั้งที่รัฐไทยบอกว่าการประกอบการของแรงงานข้ามชาติเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ในด้านความสัมพันธ์ หลายครอบครัวพยายามจัดการและตักเตือน คู่ชีวิตหรือพ่อแม่ (ผู้อยู่ที่พม่า) ที่เล่นการพนันและมักทำให้ครอบครัวสูญเสียทรัพย์สิน แรงงานที่เป็นพ่อแม่ต้องคิดหาทางรับมือกับพฤติกรรมเกเรและใช้ยาเสพติดของลูกวัยรุ่นที่ติดตามมาทำงานในไทย ส่วนพ่อแม่ที่มีลูกเล็กรู้สึกคิดถึงลูกที่นำไปฝากให้ญาติเลี้ยงที่พม่าและคอยตำหนิตนเองว่าไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ดีพอ และสุดท้าย แรงงานที่เป็นลูกที่มาทำงานในไทยต่อเนื่องยาวนาน (บางกรณีอาจมากกว่า 20 ปี) คิดหาวิธีการดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่าและล้มป่วยอยู่ที่พม่า โดยตัวเองไม่ต้องกลับไปตกงานขาดรายได้อยู่ที่บ้าน สถานการณ์เหล่านี้สร้างคำถามให้กับผู้เขียนว่า สถานะการเป็นคนงานข้ามชาติ เป็นแม่ค้า เป็นสามีหรือภรรยา เป็นพ่อแม่ และเป็นลูก (ของพ่อแม่ที่อยู่พม่า) ดำรงอยู่ได้อย่างไรท่ามกลางความเป็นอยู่อย่างยากลำบากและมีรายได้น้อยของชีวิตแรงงานข้ามชาติ […]
ชีวิตทางสังคมในการเคลื่อนย้าย (Social Life on the Move)
ประเสริฐ แรงกล้า บรรณาธิการ
จัดพิมพ์โดยงบประมาณสนับสนุนจากฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โครงการสัมมนาเสนอบทความและรับฟังความคิดเห็น “ชีวิตทางสังคมในการเคลื่อนย้าย” (Social Life on the Move)
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 | 9.30 – 16.30 น.
ห้องประชุมโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ชั้น 4 อาคารคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558)
ฉบับ “เราทั้งหมดล้วนเป็นคนอื่น” บรรณาธิการโดย นลินี ตันธุวนิตย์
ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในต่างประเทศ กองทุนวิจัยระดับคณะ ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ที่ได้รับการสนับสนุนทุนเพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการในต่างประเทศ จากงบประมาณกองทุนวิจัยระดับคณะ ประจำปีงบประมาณ 2559 รวม 3 ท่าน
Chams: The Patchwork Minorities in the changing World
5 พฤศจิกายน 2558 || 9.30-12.30 น. ณ ห้องประชุมโครงการปริญญาเอก คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. ท่าพระจันทร์
ABSTRACT: Refuge and Emplacement through Buddhism: Karen Refugees and Religious Practices in a Northwestern Border Town of Thailand
Prasert Rangkla. 2014. “Refuge and Emplacement through Buddhism: Karen Refugees and Religious Practices in a Northwestern Border Town of Thailand” in Sin Wen Lau, Nanlai Cao (eds.). Religion and Mobility in a Globalising Asia: New Ethnographic Explorations. London: Routledge.